bloggang.com mainmenu search
บทนำ

นักปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกที่ดี นอกจากจะใช้ประสบการณ์การเรียนรู้ การทำตาม (จากการรู้สายเลือดคู่ผสม) การลองผิดลองถูก และมีการสร้างภาพลูกผสมที่ได้ในหัวแบบทะลุปุโปร่งไว้แล้ว โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการด้วยกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่นักปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกต้องการคือการได้สีใหม่ในลูกผสม โดยเฉพาะสีฟ้า ที่ไม่เคยพบในธรรมชาติ

ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก โดยการใช้ DNA technology (ทั้งแบบตัดต่อยีน และการใช้ DNA marker assisted selection เพื่อคัดเลือกลักษณะที่ต้องการร่วมกับการผสมเกสรตามปกติ) และเราก็ได้เห็น blue carnations, blue roses และที่ตามมาคือ blue lilies จาก florigene

//www.florigene.com/products/index.php

ย้อนรอยลูกผสม blue Phalaenopsis

All pictures posted herein are taken from various internet sources without owner's permission and are for viewing pleasure and breeding discussion.

(ขอลอกข้อความจากคุณ Magnificum ในเรื่องการเอาภาพจากเนทมาเล่าสู่กันฟังนะครับ)

ได้มีความพยายามของนักปรับปรุงพันธุ์ Phalaenopsis โดยการผสมเกสร เพื่อสร้างลูกผสมที่ให้สีฟ้าจากต้นพ่อต้นแม่ที่มีสีฟ้าในธรรมชาติ (var. coerulea) โดยยังไม่ต้องพึ่งการตัดต่อยีนเพื่อให้ได้ blue Phalaenopsis และส่วนหนึ่งเป็นการนำ Doritis pulcherrima var. coerulea (ม้าวิ่งบูล) นำมาผสมเข้ากับ Phalaenopsis เพื่อให้ได้ลูกผสม blue Phalaenopsis เสียด้วยครับ

1. ดูจาก sapphiredragroorchid ก่อนนะครับ
//www.sapphiredragonorchids.com/SDOgallery.htm



a. Phalaenopsis violacea var. coerulea
นักปรับปรุงพันธุ์ใช้ Phal. violacea var. coerulea ในการสร้างลูกผสมสีฟ้าเป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้ sapphire ได้ใช้วิธีต่อยอดโดยการซื้อเมล็ดลูกผสม 2 สายเข้าหากัน (จาก krullsmith)

//krullsmith.com/alliance/phalaenopsis.htm

แล้วมาตั้งชื่อเอง A, B, C = Phal. violacea 'Krull's Navy Blue' AM/AOS
x Phal. violacea 'Crystelle' HCC/AOS

A = Phal. violacea 'Dainiji Airo'

B = Phal. violacea 'Sapphire Navy'

C = Phal. violacea 'Ruby Dragon' ต้นนี้ได้สี dark pink จากสี pink ของ Phal. violacea 'Crystelle'

D = Phal. violacea 'Joy's Blue' ซึ่ง sapphire ไม่ได้ให้รายละเอียดว่ามาจากไหนครับ

E = Phal. violacea 'SDO Violet' (Phal. violacea var. coerulea x sib)

F = เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง Phal. violacea 'Joy's Blue' ซ้าย และ Phal. violacea 'Sapphire Navy' ขวา

b. มาดู var. coerulea ชนิดอื่นๆ ที่ sapphire ใช้ในการสร้าง blue phalaenopsis


A = Phal. parishii ที่บอกว่าเป็น blue lip

B = Phal. equestris var. cyanochilus 'Martel's Blue' ต้นนี้ต้นกำเนิดน่าจะมาจากไต้หวัน

C = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Indigo Dragon'

D = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Violet Dragon'

E = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Flame'

F = Dor. pulcherrima var. coerulea 'Little Blue'

และที่แน่ๆ Dor. pulcherrima var. coerulea มาจากประเทศไทยแน่นอน (น่าภูมิใจปล่าวครับ)

c. มาดู blue Phalaenopsis ที่ sapphire สร้างขึ้นนะครับ


A = Dtps. Kenneth Schubert 'Blue'
(Phal. violacea var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

B = Dtps. Kenneth Schubert 'Fangtastic'
(Phal. violacea var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

จริงๆ Dtps. Kenneth Schubert สมัยจดทะเบียนชื่อใหม่ๆ ยังไม่ได้ลูกผสมสีบลู เนื่องจากใช้ Phal. violacea และ Dor. pulcherrima ที่ไม่เป็น var. coerulea แต่จะได้ลูกผสมสีชมพูเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีสีบลูออกมาจำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าสีบลูเป็นลักษณะยีนด้อยและน่าจะเป็น homologus recessive gene

C = Dtps. Purple Martin 'KS'
(Dtps. Kenneth Schubert x Phal. violacea var. coerulea) เป็นการผสมกลับไปยังPhal. violacea var. coerulea

D = Dtps. Siam Treasure 'Blue'
(Phal. lowii var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea)

จริงๆ Dtps. Siam Treasure ในการจดทะเบียนชื่อครั้งแรก ยังไม่ได้ใช้ var. coerulea ทั้งพ่อและแม่ ได้ลูกครั้งแรกเป็นสีชมพู

E = Dtps. Fire Cracker 'Blue Martini'
( Dtps. Red Coral x Dor. pulcherrima var. coerulea)

F = Dtps. Joy Green Bee
(Phal. Timothy Christopher x Dor. pulcherrima var. coerulea)

สรุปของ sapphire จะเห็นได้ว่าลูกผสม blue Phalaenopsis มีเลือด Dor. pulcherrima var. coerulea) อยู่ด้วยอย่างน้อย 1 ชั้น

น่าสนใจทีเดียว.....


2. มาดูของ bigleaforchids นะครับ
//www.bigleaforchids.com/photos/p5_blue.htm

a. var. coerulea ที่ bigleaforchids นำมาเสนอ


A = Phal. violacea 'Blue Sea'

B = Phal. violacea var. coerulea

C = Phal. modesta
(เป็นสีที่พบโดยทั่วไป)

D = Phal. modesta x sib จะพบว่า

ซ้ายสุด Phal. modesta var. alba
กลาง Phal. modesta ได้สีชมพูเข้มต้นนี้
ขวาสุด Phal. modesta var. coerulea

b. มาดู blue Phalaenopsis ที่ bigleaforchids สร้างขึ้น


A = Dtps. Kenneth Schubert 'Blue Ribbon' BM/JOGA

B = Dtps. Purple Martin 'KS'

C = Dtps. Little Blue Bird'
(Dtps. Kenneth Schubert x Dor. pulcherrima var. coerulea) เป็นการผสมกลับไปยัง Dor. pulcherrima var. coerulea

D = Dtps. Tzu Chiang Sapphire 'C1'
(Dtps. Tzu Chiang Lilac x Dor. pulcherrima)

E = Dtps. Tzu Chiang Lilac 'C#1 Blue'
(Dtps. Kenneth Schubert x Phal. Tzu Chiang Tetralitz)

F = Dtps. Joy Green Bee
(Phal. Timothy Christopher x Dor. pulcherrima var. coerulea) (ตัวนี้ทำเช่นเดียวกับ sapphire แต่ bigleaforchids ทำได้สวยกว่า)

สรุปของ bigleaforchids จะเห็นได้ว่าลูกผสม blue Phalaenopsis มีเลือด Dor. pulcherrima var. coerulea) (บางคู่ผสมไม่ได้บอกว่าใช้ Dor. pulcherrima var. coerulea) อยู่ด้วยอย่างน้อย 1 ชั้น

น่าสนใจอีกแล้วครับท่าน.....


3. มาดูต้นพ่อแม่พันธุ์ของ orchidview นะครับ
//orchidview.com/Phal_violacea_and_Phal_bellina_gallery.htm



A = Phal. violacea (Dean Stock)

B = Phal. violacea 'Blue Fin Tuna'

C = Phal. violacea 'Gaston Blen'

D = Phal. violacea 'Peek-a-Blue'

E = Phal. violacea 'Gulftream Blue' JC/AOC

F = Phal. violacea 'Gulftream Blue' JC/AOC

และมีจากเวปอื่นๆ อีกมากมายที่พยายามจะสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis โดยมีเลือด Doritis pulcherrima var. coerulea เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ชั้น

สรุปในเบื้องต้นพ่อแม่พันธุ์ที่จะใช้ในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis ได้แก่

1. Phal. violacea var. coerulea

2. Phal. equestris var. cyanochilus

3. Phal. lowii var. coerulea

4. Phal. parishii (blue lip)

5. Phal. modesta var. coerulea

และพระเอก Dor. pulcherrima var. coerulea

ดูความงามของ Phal. lowii Rchb.f ที่ใช้ในการสร้าง Dtps. Siam Treasure กันนะครับ


Phal. lowii Rchb.f มีชื่อไทยว่า ผีเสื้อชมพูหรือเอื้องจงอยปากนก ดูดอกแล้วเหมือนจริงๆ ครับ


สีของผีเสื้อชมพูอาจพบเป็นสีชมพูเข้มได้


หรืออาจพบผีเสื้อชมพูมีทรงของดอกกลมๆ ก็ได้


Phal. lowii Rchb.f เคยเป็นตำนานของการสาบสูญจากโลกเลยก็ว่าได้ แต่ก็ได้ถูกค้นพบอีกครั้งในประเทศไทย (น่าภูมิใจมากๆ) และยังเป็นส่วนที่นำไปใช้ในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis อีกต่างหาก (ภูมิใจ 2 ต่อ เพราะเอาไปผสมกับ Dor. pulcherrima var. coerulea ม้าวิ่งบลู ที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยอีกด้วย)


ดูความงามของ Dtps. Siam Treasure
Dtps. Siam Treasure จดทะเบียนชื่อโดย S. Wannakrairoj (T.Lusup-anan) 1997 ได้ลูกผสมสีชมพู (คนผสมน่าจะเป็นคุณตี๋อ้วน..ขอข้อมูลยืนยันนะครับ)

//www.phals.net/doritis/pulcherrima/SiamsTreasure_e.html

แต่ถ้าใช้ Phal. lowii var. coerulea x Dor. pulcherrima var. coerulea จะได้ลูกผสมสี blue Phalaenopsis ที่ชื่อ Dtps. Siam Treasure น่าภูมิใจนะครับ


Dtps. Siam Treasure ยังคงเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีในการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis ต่อไป


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Dtps. Siam Treasure (ซ้าย) และ Dor. pulcherrima var. coerulea (ขวา)


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Phal. lowii Rchb.f (บน) และ Dtps. Siam Treasure (ล่าง)


เป็นภาพเปรียบเทียบระหว่าง Dtps. Siam Treasure (บน) และ Dtps. Anna-Larati Soekardi x Dor. pulcherrima var. choompornensis (ล่าง)


วิเคราะห์อิทธิพลการแสดงออกของ Doritis ต่อการสร้างลูกผสม blue Phalaenopsis

1. ลูกผสมที่มีเลือด Doritis pulcherrima มียีน blue แฝงอยู่

ลองมาดู primary hybrid ที่ได้จดทะเบียนชื่อไว้ ผมใช้ข้อมูลของ phals.net นะครับ (เฉพาะที่มีรูปประกอบนะครับ)
//www.phals.net/doritis/pulcherrima/index_e.html

primary hybrid ชุดที่ 1


A = Dtps. Anna-Larati Soekardi
(Dor. pulcherrima x Phal. parishii)

B = Dtps. Purple Passion
(Phal. shilleriana x Dor. pulcherrima)

C = Dtps. Kelsey's Blush
(Phal. tetraspis x Dor. pulcherrima)

D = Dtps. Jim
(Dor. pulcherrima x Phal. venosa)

E = Dtps. Kenneth Schubert
(Dor. pulcherrima x Phal. violacea)

F = Dtps. Myriam-Esther
(Phal. modesta x Dor. pulcherrima)

primary hybrid ชุดที่ 2


A = Dtps. Purple Gem
(Dor. pulcherrima x Phal. equestris) ที่มีสีชมพู

B = Dtps. Purple Gem
(Dor. pulcherrima x Phal. equestris) ที่มีสีม่วง

C = Dtps. Musick Surprise
(Dor. pulcherrima x Phal. chibae) ที่มีสีขาวปากเหลือง

D = Dtps. Musick Surprise
(Dor. pulcherrima x Phal. chibae) ที่มีสีชมพู

E = Dtps. Tarina
(Phal. javanica x Dor. pulcherrima)

F = Dtps. Purple Sum
(Dor. pulcherrima x Phal. sumatrana)

สังเกตที่ spp. กันก่อนนะครับ

จะเห็นได้ว่ามีการค้นพบ var. coerulea ใน Phalaenopsis และใน Doritis ใน spp. ที่เพิ่มขึ้น และประกอบกับกล้วยไม้เป็นพืชผสมข้ามโดยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมถึง genus Phalaenopsis และ Doritis ที่เป็นพืชผสมข้ามแบบผสมเปิด (หรือมนุษย์ช่วยผสมก็ถือว่าเป็นพืชผสมข้ามเช่นกัน) เพราะฉะนั้น spp. ที่ทำการ self หรือ sib จะมีโอกาสที่ยีนจะมาเข้าคู่กันโดยบังเอิญแบบ homologus recessive gene ที่ทำให้การทำงานของ anthocyanin pathway ทำงานให้ได้สีบลูนั่นเอง

เขียนแทนได้ดังนี้ (หากการทำงานของ blue ยีน ถูกควบคุมด้วยยีนเพียงคู่เดียว)

Bb x Bb = 1 BB, 2 Bb ,1 bb

B_ = genotype เป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีบลู (ขึ้นกับว่าเป็นยีนข่มสมบูรณ์, ข่มไม่สมบูรณ์, ข่มร่วม หรือเป็นแบบ epistasis ฯลฯ)

bb = genotype เป็นสีบลู

การใช้ var. coerulea จากพ่อหรือจากแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ (Phalaenopsis x Doritis)

โอกาสที่จะได้ลูกผสม blue Phalaenopsis จึงมีโอกาสที่เพิ่มขึ้น

ยกตัวอย่าง การสร้าง Dtps. Siam Treasure

Phal. lowii (สีชมพู) (Bb) x Dor. pulcherrima var. coerulea (ม้าวิ่งบลู) (bb)

F1 = Dtps. Siam Treasure (สีชมพู) (Bb) และ Dtps. Siam Treasure (สีบลู) (bb) อย่างละครึ่ง

แล้วเราก็เลือก Dtps. Siam Treasure (สีบลู) 2 ต้นผสมกัน เพื่อเพิ่มทุกตำแหน่งของยีนบลู (หากการทำงานของยีนบลูควบคุมด้วยยีนมากกว่า 1 คู่)

F2 = Dtps. Siam Treasure ที่เป็นสีบลู (bb) ทั้งหมด

แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดครับท่าน......

2. สมมุติฐานที่ว่า Doritis มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของยีนสีในลูกผสม Phalaenopsis

//www.ars.usda.gov/research/publications/publications.htm?SEQ_NO_115=178793

ในเวปที่ประกอบ Griesbach, 2005 พบว่า สีบลูที่เกิดขึ้น เป็น anthocyanin interaction with co-pigment (ร่วมกับ flavonone หรือ flavonol) ที่ pH ในแวคคิวโอเป็นด่าง

โดยสภาพ pH เป็นกรด acid pH (pH 3-4) จะพบการทำงานของ anthocyanin:co-pigment complex จะให้สีไปทางแดง

แต่สภาพ pH เป็นด่าง alkaline pH (pH 5-6) จาก Doritis pulcherrima ทำให้การทำงานของ anthocyanin:co-pigment complex ให้สีไปทางบลูเพิ่มขึ้นอีกด้วย (แบบ single co-dominantly inherited gene อีกต่างหาก หมายความว่าอิทธิพลแบบนี้สามารถถ่ายทอดได้)

ขอเอวังด้วยประการเช่นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย

หากมีข้อสงสัย.... เพิ่มเติม..... ขอความกรุณาด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ

Create Date :08 ตุลาคม 2550 Last Update :12 ตุลาคม 2550 23:23:43 น. Counter : Pageviews. Comments :73