Enjoying your free trial? Only 9 days left! Upgrade Now
Home Explore กล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุง
Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes! Create your own flipbook
View in Fullscreen

กล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุง

Description: คู่มือกล้วยไม้รองเท้านารีของไทย
รองเท้านารีดอยตุง

Keywords: กล้วยไม,้รองเท้านารี

Read the Text Version

No Text Content!

ค่มู อื กล้วยไมร้ องเทา้ นารีของไทย งานปรับปรงุ และขยายพันธุพ์ ืชและสตั ว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กันยายน 2562 2 คำนำ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็นกล้วยไม้อีกสกุลหนึ่ง ที่อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์จาก แหลง่ กำเนิด เนื่องจากเปน็ กล้วยไม้ทีม่ ีความสวยงาม ดอกบานทนทาน ท้ังรูปลักษณ์และสีสัน แปลกตา จนทำให้ต้องมีการอนุรักษ์ไว้ โดยได้มกี ารกำหนดให้กล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเป็นพืช อนุรักษ์ ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่กำลังจะสูญพันธุ์ (Conventional on International Trade in Endangers Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ซึง่ ควบคุมไม่ให้มีการส่งออกกล้วยไม้รองเท้านารีที่ เก็บจากปา่ ยกเว้นกรณีที่พืชอนุรักษ์เหล่านี้ ได้มาจากการขยายพันธุ์เทียม อีกท้ังตามข้อตกลง ภาระงาน และพฤติกรรมการปฏิบตั ิงานราชการ (Term of Reference: TOR) รอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562) ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขตามประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลยั แม่โจ้ เรื่องหลักเกณฑ์และ วิธีการประเมนิ ผลการปฏบิ ัติราชการ สำหรบั บคุ ลากรสังกดั มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดงั น้ันข้อตกลง ภาระงานและพฤติกรรมการปฏบิ ตั ิราชการสำหรบั บุคลากรสำนกั วิจัยฯ รอบงบประมาณ 2562 ในการประเมนิ เลื่อนเงินเดือนและค่าจ้าง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 จะต้องมีภาระงาน เชิงพัฒนาในส่วนของการจัดทำคูม่ ือการปฏิบัติงาน/การวิจัยสถาบัน/การสร้างนวัตกรรม/การ จดั ทำหรือปรับปรงุ ระเบยี บข้อบงั คับ จึงได้จดั ทำคมู่ อื กล้วยไม้รองเท้านารีของไทย ซ่ึงเป็นการ รวบรวมและเรียบเรียงจากการปฏิบัติงานและการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการดำเนินงาน และสร้างองคค์ วามรู้ทีเ่ ปน็ ประโยชน์ตอ่ ผปู้ ฏิบัติงานและเกษตรกรผู้ ทีส่ นใจได้นำไปใช้ต่อไป นายธนวัฒน์ รอดขาว นายอดิศกั ดิ์ การพงึ่ ตน นางวิไลวรรณ สถาพรศรีสวสั ดิ์ สารบญั 3 คำนำ หนา้ สารบญั บทนำ (ก) ชนิดกล้วยไม้รองเท้านารี (ข) การจำแนกกล้วยไมร้ องเท้านารี 1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 1 กล้วยไมร้ องเท้านารดี อยตงุ 6 การขยายพันธกุ์ ล้วยไม้ 11 1. การขยายพนั ธ์ุพืชภายในห้องปฏิบตั กิ าร 13 2. การขยายพนั ธุพ์ ืชภายนอกห้องปฏิบตั กิ าร 14 การปลกู เลี้ยงกล้วยไม้ 14 ปจั จยั ทีเ่ กี่ยวข้องกบั การเจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเทา้ นารี 16 1. โรงเรือน 18 2. แสงสวา่ ง 19 3. ความชื้นสัมพทั ธ์ 19 4. อณุ หภูมิ 19 5. การเคลื่อนที่ของอากาศ 20 6. วสั ดุปลกู กล้วยไม้ 20 7. ภาชนะปลกู กล้วยไม้ 20 8. น้ำ 20 การดแู ลรกั ษา 22 1. การใหน้ ้ำ 23 2. การให้ปุ๋ย 23 3. การเปลีย่ นเครือ่ งปลกู และกระถาง 23 4. การรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนและตน้ 23 ศัตรูและการป้องกนั กำจดั 24 24 24 สารบญั (ต่อ) 4 1. โรคของกล้วยไม้ หน้า 2. ศัตรูของกล้วยไม้ 3. อนั ตรายจากวชั พชื และตะไคร่ 25 การป้องกนั กำจดั ศัตรกู ล้วยไม้โดยไมใ่ ชส้ ารเคมี 27 บรรณานกุ รม 29 29 31 5 กลว้ ยไมร้ องเทา้ นารี กล้วยไม้รองเท้านารี หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกวา่ Lady’s slipper หรือ Venus’s slipper มีความหมายว่า รองเท้าแตะของผู้หญิง เนื่องจากส่วนของกระเป๋าดอก (pouch) มีลักษณะ เหมือนหัวรองเท้ายื่นออกมา (Bechtel et al., 1981 ; Arditti and Ernst, 1992) หรือใน ประเทศมาเลเซียมีภาษาถิ่นเรียกว่า Bunga Kasut ซง่ึ แปลว่าดอกไม้ท่มี ีลกั ษณะเหมือนรองเท้า (Soon, 1989) กล้วยไม้รองเท้านารีเป็นพืชสกุลหนึ่ง ซ่ึงทางวิชาการในสาขาพฤกษศาสตร์จัด ไว้ในวงศ์กล้วยไม้ (Family Orchidaceae) วงศ์ย่อย Cypripedioideae ซึ่งประกอบด้วย 4 สกุล (Genus) คือ Paphiopedilum, Cypripedium, Phragmipedium และ Selenepedium(Soon, 1989 ; Dressler, 1993) สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารีที่พบในประเทศไทยท้ังหมดจัดอย่ใู นสกลุ Paphiopedilum (ระพี, 2535) ซ่ึงในอดีตก่อนปีคริสตศักราช 1886 Paphiopedilum ถูกจัดอยู่ใน สกลุ Cypripedium ต่อมา Emst Heinrich Pfitzer ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้จัดให้ Paphiopedilum แยกเป็นสกุลใหม่ต่างหาก โดยอาศัยระบบการจำแนกทางสัณฐานวิทยา และลกั ษณะการเจริญเติบโต (Cribb, 1987) สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารีสกลุ Paphiopedilum ซึ่ง มีถิน่ กำเนิดอยใู่ นเขตร้อน พบในเอเชยี ใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการกระจายพันธุ์ นับจากแนวเทือกเขาหิมาลัยลงมาสู่ตอนล่าง (Teob, 1989) ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย พม่า ไทย ปาปัวนิวกินี (Bechtel et al., 1981 ; Soon, 1989) ลาว เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซยี ฟิลิปปินส์ (ระพี, 2535) และหม่เู กาะโซโลมอน (Cribb, 1987) พบอยใู่ นธรรมชาติมากกว่า 70 สาย พันธุ์ และลูกผสมอีกหลากหลาย (Teob et al, 1989 ; Braem et al, 1998) สำหรับประเทศไทยที่ ค้นพบมี 17 ชนิด(อุไร, 2550) ได้แก่ 1. รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paphiopedilum appletonianum var. wolterianum) 6 2.รองเท้านารีม่วงสงขลา หรือรองเท้านารีคางกบภาคใต้ (Paphiopedilum barbatum) 3. รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum (Rchb. f. ) Pfitzer) 4. รองเท้านารีคางกบ หรือรองเท้านารีไทยแลนด์ (Paphiopedilum callosum (Rchb. f. ) Stein ) 7 5. รองเท้านารีดอยตุง (Paphiopedilum charlesworthii (Rolfe ) Pfitzer ) 6. รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือรองเท้านารีเหลืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเหลืองอุดร (Paphiopedilum concolor (Lindl.) Pfitzer) 7. รองเท้านารีเหลืองกระบ่ี (Paphiopedilum exul (Ridl.) Kerch.) 8 8. รองเท้านารีขาวชุมพร (Paphiopedilum godefroyae (Godef. – Led.) Stein) 9. รองเท้านารีเหลืองตรัง หรือรองเท้านารีเหลืองพังงา (Paphiopedilum godefroyae var. leucochilum (Master) Hallier) 10. รองเท้านารีเหลืองเลย (Paphiopedilum hirsutissimum (Lindl. Ex Hook) Stein var. esquirolei (Schltr.) Cribb) 9 11. รองเท้านารีขาวสตลู (Paphiopedilum niveum (Rchb. f.) Stein) 12. รองเท้านารีเมืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเชียงดาว (Paphiopedilum parishii (Rchb. f.) Stein) 13. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกูล (Paphiopedilum sukhakulii Schoser & Senghas) 10 14. รองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum (Ldl.) Pfitz.) 15. รองเท้านารีชอ่ งอ่างทอง (Paphiopedilum x Ang Thong) 16. รองเท้านารีอนิ ซิกเน่ (Paphiopedilum insigne) 17. รองเท้านารีเกาะช้าง (Paphiopedilum x Siamensis) การจำแนกกล้วยไม้รองเทา้ นารี ด้วยเหตทุ ี่รองเท้านารีแต่ละชนิดที่ค้นพบแล้วนั้น บางชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มากในแตล่ ะท้องถิ่น การจำแนกระดบั สกลุ นั้นไม่เพียงพอในการกำหนดลักษณะของรองเท้า นารีให้ถกู ต้อง จึงมีการจำแนกสกุล Paphiopedilum ออกเปน็ สกลุ ยอ่ ย (อไุ ร, 2550) ดงั นี้ 1. สกุลย่อย Brachypetalum เป็นรองเท้านารีที่พบตามซอกผาหินที่เป็นหินปูน ดอกค่อนข้างเล็ก กลีบดอกรูปรีถึงค่อนข้างกลม กระเป๋ามักงุ้มลง ขอบเรียบ และมีจำนวน โครโมโซม 2n = 26 สกุลย่อยนี้สามารถแบง่ ได้เปน็ 2 หมู่ (อไุ ร, 2550) คือ 11 1.1. หมู่ Brachypetalum พบในเขตร้อนบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ตะวันออก เฉียงเหนือของพม่า เวียดนาม ไทย และตอนเหนือของมาเลเซีย ใบมักเป็นลายแต้ม หรือจุด ดอกสีขาว หรือเหลืองนวล มีจุดปะสีม่วงเข้มบนกลีบ กลีบดอกหนารูปรี กว้าง กระเป๋าเป็นรูปไข่ โลเ่ ป็นรปู ไขจ่ นถึงรูปรีแนวขวาง และมีหยักคล้ายฟันฉลามทีป่ ลายด้านล่าง 1 หรือ 3 แฉก ทุกชนิดเจริญเติบโตบนหินปูน มี 4 ชนิด ได้แก่ P.bellatulum P.concolor P.godefroyae และ P.niveum (Cribb, 1987) 1.2.หมู่ Parvisepalum พบบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และเวียดนาม ใบเป็น ลายเห็นได้เด่นชัด มีทั้งดอกเดี่ยวและดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกรูปรีกว้างถึง คอ่ นข้างกลมมี 2 ชนิด ทีม่ เี ส้นสีม่วงเข้ม และจากลงบนกลีบ กลีบดอกมีหลายสีขึ้นอยู่กับชนิด กระเป๋ารูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดใหญ่และบาง โล่มีหลายรูปแบบทั้งรูปหัวใจ และมีร่องยาวลึก จนถึงรปู ร่างทรงกลม สว่ นใหญเ่ กสรตัวผู้เป็นก้อนกลม ทุกชนิดพบเจริญบนพื้นที่ที่มีหินปูน และพืชเฉพาะถิ่นมี 5 ชนิด ได้แก่ P.armeniacum P.delenatii P.malipoense P.micranthum และ P.emersonii (Cribb, 1987) 2. สกลุ ย่อย Paphiopedilum เป็นรองเท้านารีทีม่ ดี อกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นชอ่ กลีบ ดอกเป็นแถบ หรือเป็นรูปช้อน ซึ่งมีความยาวมากกว่าสองเท่าของความกว้างของกลีบดอก กระเป๋างุ้มลง ขอบเรียบหรือเว้าลง สกลุ ยอ่ ยนี้สามารถแบ่งออกเป็น 5 หมู่ (อไุ ร, 2550) คือ 2.1. หมู่ Coryopedilum มีจำนวนโครโมโซม 2n = 26 พบแถบหมเู่ กาะบอร์เนียว บางชนิดพบที่ฟิลิปปินส์ มีใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นแถบยาว มักบิดเป็น เกลียว ขอบกลีบด้านบนเป็นไฝ และมีขนอ่อนปกคลุมที่ปลายกลีบ กระเป๋ายาวห้อยลง ด้าน ในขอบกลีบจะงุ้มเข้า กึ่งกลางโล่มักเป็นรูปขอบขนาน และมีขนอ่อนปกคลุมด้านล่าง ไ ด ้ แ ก ่ P.adductum P.glanduliferum P.kalopakingii P.philippinense P.randsii P.rothschildianum P.sanderianum P.stonei และ P.supardii (Cribb, 1987) 2.2. หมู่ Pardalopetalum มีจำนวนโครโมโซม 2n = 26 เป็นพวกพืชอิงอาศัย มีใบสีเขียว ลักษณะดอกของพืชในสกุลนี้มักมีรูปร่างคล้ายกัน โดยเฉพาะโล่มักเป็นรูปหัวใจ กลับ กลีบดอกเป็นแถบบิดเกลียว ขอบกลีบด้านบนมีจุดสีเข้มหรือมีไฝสีดำ ได้แก่ P.haynaldianum P.lowii และ P.parishii (Cribb, 1987) 2.3. หมู่ Cochlopetalum มีจำนวนโครโมโซม 2n = 30 – 37 มักพบตามชายฝั่ง ของหมู่เกาะสุมาตราและชวา ดอกเลก็ กาบรองดอกรปู รี กลีบดอกแคบบิดเป็นเกลยี ว และมีขน 12 ปกคลมุ กระเป๋ามีจุดปะกระจายท่ัว โล่เป็นรูปค่อนข้างสีเหลี่ยม และมีขนปกคลุมที่โคน ได้แก่ P.glaucophyllum P.liemianum P.primulinum P.victoria-mariae แ ล ะ P.victoria-regina (Cribb, 1987) 2.4. หมู่ Paphiopedilum ประกอบด้วยกล้วยไม้รองเท้านารี 10 ชนิด ซึ่งมีดอก เดีย่ ว ใบสีเขียวไม่มีลาย มีลกั ษณะดอกและโลท่ ีห่ ลากหลาย มีจำนวนโครโมโซม 2n = 26 – 30 ไ ด ้ แ ก ่ P.barbigerum P.charlesworthii P.druryi P.exul P.fairrieanum P.gratrixianum P.hirsutissimum P.insigne P.spicerianum และ P.villosum (Cribb, 1987) 2.5. หมู่ Barbata มีจำนวนโครโมโซม 2n = 28 – 44 ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีใบ ลาย side – lobes บริเวณปากม้วนเข้า ส่วนใหญก่ ลีบดอกมีจุดปะหรือไฝ โล่เป็นรูปพระจนั ทร์ เสี้ยวและหยักเป็นฟันซี่เล็กๆ 3 ซี่ บริเวณปลายโล่ หรือลักษณะอื่นๆ ที่คล้ายทีก่ ลา่ วมา ได้แก่ P.acmodontum P.appletonianum P.argus P.barbatum P.bougainvilleanum P.bullenianum P.callosum P.ciliolare P.dayanum P.fowliei P.hennisianum P.hookerae P.javanicum P.lawrenceanum P.mastersianum P.papuanum P.purpuratum P.sangii P.schoseri P.sukhakulii P.superbiens P.tonsum P.urbanianum P.venustum P.violascens P.wardii แ ล ะ P.wentworthianum (Cribb, 1987) สว่ นการจำแนกกล้วยไม้รองเท้านารีตามลักษณะของดอก สามารถแบง่ ออกเป็น 4 กลมุ่ (ระพี, 2535) กลุ่มแรกได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารีที่มีรูปลักษณะดอกหากมองด้านหน้า จะมี ลักษณะกลม กลีบกว้าง และใบมีลายสวยงาม กล้วยไม้รองเท้านารีในกลุ่มนี้พบขึ้นตาม ธรรมชาติอยู่ในแถบซึ่งเป็นภูเขาหินปูน เช่น รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulum) รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor) รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum godefroyae) รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum) และรองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paphiopedilum niveum) เป็นต้น กลุ่มที่สองได้แก่ รองเท้านารีชนิดที่ดอกมีกลีบใบแคบ และบิดเป็นเกลียว เช่น รองเท้านารีเมอื งกาญจน์ (Paphiopedilum parishii) รองเท้านารีฟลิ ิปปิเนนเซ่ (Paphiopedilum philippinense) และรองเท้านารีรอธไชลเดียนั่ม (Paphiopedilum rothschildianum) ซึ่งทั้งสาม ชนิดใบไม่มลี าย 13 กลุม่ ทีส่ ามได้แก่ ใบไมม่ ลี ายเช่นเดียวกบั กลุ่มที่สอง แต่มีกลีบดอกหนา ผวิ ดอกเป็น มันคล้ายเทียนขี้ผึ้ง ดอกมีสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือบสีน้ำตาลปนเหลือง เช่น รองเท้านารี อินทนนท์ (Paphiopedilum villosum) และรองเท้านารีเหลืองกระบ่ี (Paphiopedilum exul) เปน็ ต้น กลุ่มที่สี่ได้แก่ รองเท้านารีใบมีลาย ผิวกลีบดอกมีไฝสีดำ หรือสีน้ำตาล มีขนที่ไฝ เช่น รองเท้านารีคางกบ (Paphiopedilum callosum) รองเท้านารีคางกบภาคใต้ (Paphiopedilum barbatum) และรองเท้านารีสขุ ะกูล (Paphiopedilum sukhakulii) เปน็ ต้น สว่ นการจำแนกชนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีทีม่ ีถิน่ กำเนิดในไทย โดย ฝา่ ยวิชาการ สมาคมพฤกษชาติแหง่ ประเทศไทยในพระบรมราชูปถมั ภ์ มีดงั นี้ (อุไร, 2550) รองเท้านารีในหมู่ Brachypetalum ที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้น หลายชนิดมีลักษณะดอกและใบที่ใกล้เคียงกัน คือ รองเท้านารีขาวสตูล รองเท้านารีช่อง อ่างทอง รองเท้านารีขาวชุมพร รองเท้านารีเหลืองพงั งา และรองเท้านารีเหลืองตรัง ทั้งนี้อาจ เกิดจากรองเท้านารีเหล่านี้มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทีซ่ ้อนเหลือ่ มกันและเกิดการผสมพนั ธุ์กันข้นึ หรืออาจเกิดจากรองเท้านารีเหล่านี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการแยกชนิด (speciation) จากบรรพ บุรษุ ร่วมกนั อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตอย่างใกล้ชิด โดยไม่นำสีดอกมาพิจารณา พบว่า ลกั ษณะบางอย่างของดอกอาจถกู นำมาแยกรองเท้านารีเหล่านี้ออกจากกนั ได้ระดับหนึ่ง ดงั นี้ 1. รองเท้านารีขาวสตูล พบว่ารองเท้านารีขาวสตูลทีม่ ีก้านช่อดอกยาวนั้น โล่มี ขนาดใหญ่ทีป่ ลายเส้าเกสรและมีแต้มขนาดใหญส่ ีเขียวหรือสีเหลืองบนโลด่ ้วย แต่โล่จะมีความ กว้างกวา่ ความกว้างของช่องเปิดที่กระเปา๋ 2. รองเท้านารีชอ่ งอ่างทอง มีก้านชอ่ ดอกส้ันกวา่ รองเท้านารีขาวสตูลเล็กน้อย มีแต้มสีบนโล่ และมีความกว้างของโล่รองจากรองเท้านารีขาวสตลู แตโ่ ลข่ องรองเท้านารีช่อง อ่างทองจะแคบกว่าความกว้างของช่องเปิดทีก่ ระเปา๋ เนื่องจากความกว้างของช่องเปิดกระเป๋า ของรองเท้านารีชนิดนี้มีขนาดใหญ่ 3. รองเท้านารีเหลืองพังงา เป็นรองเท้านารีอีกชนิดหนึ่งที่มีโล่คอ่ นขา้ งกว้าง แต่แต้มสี บนโลม่ ีขนาดเล็ก ส่วนกระเป๋าค่อนข้างยาวเมื่อเทยี บกับรองเทา้ นารีสองชนิดแรกที่กล่าวข้างต้น 14 4. รองเท้านารีเหลืองตรัง เป็นรองเท้านารีที่มีลักษณะคล้ายรองเท้านารีเหลือพังงา มาก จนไมส่ ามารถแยกจากกันได้ จึงถูกจัดเปน็ รองเท้านารีพันธ์ุเดียวกัน (P. Godefroyae var. leucochilum) แตเ่ รียกชือ่ ต่างกนั ตามแหลง่ ที่ถูกเกบ็ รวบรวมมา 5. รองเท้านารีขาวชมุ พร เปน็ รองเท้านารีทีถ่ ูกจัดให้เปน็ ชนิดเดียวกนั (P. Godefroyae) กับรองเท้านารีเหลืองตรังและรองเท้านารีเหลืองพังงา แต่รองเท้านารีขาวชุมพรจะมีโล่แคบ กว่าสองพันธุ์นั้น และมีช่องเปิดของกระเป๋าแคบที่สุดของรองเท้านารีในหมู่ Brachypetalum นอกจากนี้ช่องเปิดด้านในของกระเป๋าซึ่งโอบเกสรเพศเมียไว้นั้น ยังแคบกว่ารองเท้านารีของ เหลืองตรังและเหลืองพังงาด้วย นอกจากนี้ รองเท้านารีบางชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยยงั มีลักษณะต้นและใบที่ คล้ายกัน จนจำแนกจากกันได้ยากเมื่อไม่มีดอก ซึ่งจากการสังเกตอยา่ งใกล้ชิดอาจพิจารณา จากลักษณะต้นและใบ เพือ่ ใช้ในการจำแนกได้บ้าง ดังนี้ 1. รองเท้านารีเหลืองปราจีนและรองเท้านารีฝาหอย ใบของรองเท้านารีเหลืองปราจีนนั้นมี หลายลักษณะ แต่มีบางต้นที่ใบคล้ายใบของรองเท้านารีฝาหอย ได้แก่ ต้นที่นำมาจากแถบ จังหวัดอบุ ลราชธานี อุดรธานี และมุกดาหาร ซึ่งมีใบป้อมกว้าง มีลายสีเขียวใต้ใบมีจุดประสี ม่วงแดง ปลายใบมน แต่ใบของรองเท้านารีฝาหอยจะบางกว่า มักเป็นลอน มีลายใบเป็นช่วง หา่ งและมีจดุ ประใต้ใบมากกว่ารองเท้านารีเหลืองปราจีน 2. รองเท้านารีเหลืองเลยและรองเท้านารีเหลืองกระบี่ รองเท้านารีเหลืองเลยจะมีแผน่ ใบแบนมาก และบางกว่ารองเท้านารีเหลืองกระบี่ มีลายใบพอเห็นได้ โคนใบมีลายใบจุดประสี ม่วงแดง ขณะที่ใบรองเท้านารีเหลืองกระบี่ไม่มีลายโคนใบสีชมพูอมแดง และมีหน้าตดั ของใบ เป็นรูปตวั วี (V) 3. รองเท้านารีอินทนนท์และรองเท้านารีดอยตุง รองเท้านารีทั้งสองชนิดนี้ ใบมี ลักษณะคล้ายกันมาก ทั้งรูปทรงและจุดประใต้ท้องใบ แต่ต้นและใบรองเท้านารีดอยตุงที่โต เตม็ ทีม่ ขี นาดเล็กกว่าอยา่ งเด่นชัด และใบแข็งกวา่ เลก็ น้อย 4. รองเท้านารีคางกบ รองเท้านารีสุขะกูล และรองเท้านารีคางกบคอแดง ใบของ รองเท้านารีคางกบมีลายใบหลายแบบ แต่ลายใบที่มีสีเขียวเข้มจะนูนจากผิวใบ ผิวใบลื่นมือ โคนใบอาจมสี ีม่วงแดงเรื่อ ๆ ส่วนใบของรองเท้านารีสขุ ะกลู นั้น มีลักษณะเด่นคือ ผิวใบมีขนสั้น ๆ ปกคลมุ อยทู่ วั่ ไปเมื่อลบู จะสากมือ ลายใบมีสีเขียวอ่อนกว่ารองเท้านารีคางกบ และมีพนื้ ใบมี สีเขียวอมเหลืองหรือสีเทา ขณะทีร่ องเท้านารีคางกบคอแดงนั้นมีลายใบคล้ายกับรองเท้านารี 15 คางกบ แต่มีรายเป็นระเบียบมากกวา่ บริเวณโคนใบที่หุ้มโคนต้นต่อจากกาบใบจะหนีบเป็น รอ่ งยาวกวา่ โคนใบของรองเท้านารีคางกบ ทั้งยงั มีขนาดต้นและใบเลก็ กวา่ รองเท้านารีคางกบ อีกด้วย ลกั ษณะทางพฤกษศาสตรท์ ว่ั ไป ลำต้น เป็นกล้วยไม้ฐานร่วม (sympodium) คือเจริญเติบโตโดยแตกหน่อใหม่จาก ตาข้างของต้นเดิมเพื่อสร้างช่อดอก ลำต้นสั้นมาก ไม่มีลำลูกกล้วย (ระพี, 2535) ราก ออกจากโคนต้นแล้วแผก่ ระจายในแนวราบ มีขนาดใหญ่ สีน้ำตาลหรือสีสนิม และมีขนรากปกคลมุ อย่างหนาแน่น (อุไร, 2550) ใบ มีหลายแบบทั้งรูปขอบขนาน (oblong) รูปรี (elliptic) รูปแถบ (linear) ออก สลับกนั ทั้ง 2 ข้างและซ้อนกัน จำนวน 3 – 5 ใบต่อต้น อาจต้ังขึ้นหรือแผ่ขนานไปกับพื้นดิน แผ่นใบหนาเส้นกลางใบพับเป็นร่อง ปลายใบมนเว้า หรือแหลม พื้นใบมที ั้งสีเขียวเป็นมัน เป็น ลายตาราง หรือเป็นลายคล้ายหินออ่ น สีเขียวเข้มสลบั กับสีเขียวอมเทาทัว่ ท้ังใบ ใต้ใบมีสีเขียว รองเท้านารีบางชนิดมีสีม่วงแดง หรือจดุ เล็กๆ สีมว่ งแดง กระจายท่ัวใบ โคนกาบใบอาจมสี ีม่วง แดงเรือ่ (อบฉันท,์ 2549) ดอก ออกที่ปลาย มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ ก้านดอกอาจยาวหรือสั้น มีสีเขียว ม่วงแดง หรือน้ำตาลแดง และมักมีขนปกคลุม กาบรองดอกรูปไข่หรือรูปหอกเรียวแหลม หอ่ หุ้มรงั ไข่ไว้ มีสีเขยี ว น้ำตาลแดง หรือมว่ งแดง และมีขนปกคลมุ อยทู่ ้ังสองสว่ น กลีบดอกหนา เปน็ มนั ด้านนอกมกั มีขนปกคลุม ด้านในมีสีสนั สวยงาม (อไุ ร, 2550) กลีบนอกหรือกลีบเลี้ยง (sepal) จะห่อหุ้มกลีบดอกชั้นในไว้ มีขนปกคลุมแบ่ง ออกเป็น 3 กลีบ คือ กลีบนอกบนหรือหลังคา 1 กลีบ อีก 2 กลีบอยู่ด้านล่าง และมักเชื่อม ติดกันเป็นช้ินเดียวเรียกวา่ กลีบนอกลา่ ง (อไุ ร, 2550) กลีบในหรือกลีบดอก (petal) มีกลีบใน 2 กลีบชี้ออกด้านข้างทั้งสองด้าน อาจ เรียกว่าหู มีขนาดและลักษณะเหมอื นกนั อาจเป็นแถบ เรียวยาว กลม หรือป้อม แผ่แบนบิดเปน็ คลืน่ หรืองุ้มงอ กลีบในอีกกลีบหนึ่งซึง่ อยูด่ ้านลา่ งของดอกไดเ้ ปลีย่ นรปู เปน็ ถุงห้อยลงคล้ายหวั รองเท้าแตะของชาวดตั ช์เรียกวา่ กระเป๋า (pouch) (อไุ ร, 2550) ดอกกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 2 แห่ง ลกั ษณะเปน็ ก้อนเหนียวสีเหลืองติดอยู่ด้านข้างท้ังสองข้างของเส้าเกสร ถัดลงมาตรงกึ่งกลาง 16 ของเส้าเกสรเป็นยอดของเกสรเพศเมียซ่ึงคว่ำลง ลักษณะเป็นเนิน 3 เนินติดกันปลายเส้า เกสรมีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบรู ณ์ ซง่ึ เปลี่ยนรปู เป็นแผน่ ปิดอยู่ เรียกว่า โล่ (stam-inode) มีรูปรา่ ง ต่างๆ กัน ขึ้นอยูก่ ับชนิดของรองเท้านารี (อไุ ร, 2550) ฝัก เป็นฝักแบบฝักแห้งแล้วแตก (Capsule) ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของก้านดอก หลังการผสมพันธุ์ เมื่อแก่มีสีน้ำตาลและแตกออกตามแนวยาว ภายในมีเมล็ดคล้ายฝุ่น ปลิวไปตามลมได้ง่าย (อุไร, 2550) 17 กล้วยไม้รองเท้านารีดอยตงุ ชือ่ รองเท้านารีดอยตงุ ชื่อวิทยาศาสตร์ Paphiopedilum charlesworthii (Rolfe ) Pfitzer. สกลุ ย่อย Paphiopedilum หมู่ Paphiopedilum จำนวนโคโมโซม 2n = 26 แหล่งที่พบ กระจายพันธุใ์ นแถบจีนตอนใต้ และประเทศพม่า สำหรับในประเทศไทยสามารถ พบเหน็ ได้น้อยมาก มกั ขึ้นตามผาหินปูนที่สงู จากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น มักเจริญเปน็ กลุ่ม มีพมุ่ ใบขนาด 20 – 25 เซนติเมตร ใบ รูปแถบ กว้าง 2.5 – 3.0 เซนติเมตร ยาว 15 – 20 เซนติเมตร ใบค่อนข้างหนา สีเขียวเขม้ เปน็ มนั โคนกาบใบมีจุดประสีมว่ งเข้มกระจาย ดอก เป็นดอกเดีย่ ว ก้านดอกตั้งตรงสีม่วงแดง ยาว 10 – 12 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม เมื่อ ดอกบานเต็มที่มีขนาด 7 – 9 เซนติเมตร กลีบนอกบนมีสีชมพูเป็นมัน โคนกลีบมีสีม่วงเข้ม และเส้นรา่ งแหสีมว่ งกระจายทัว่ กลีบดอกงุ้มมาด้านหน้า ขอบกลีบย่นเล็กน้อย มีสีเหลืองอม น้ำตาล และเส้นร่างแหสีน้ำตาลหนาแนน่ กระเปา๋ มีสีเหลืองอมน้ำตาลเป็นมัน และมีเส้นล่าง แหสีน้ำตาล โลส่ ีขาวเป็นมัน รปู ทรงเปน็ รปู หวั ใจกลบั ขนาด 0.8 – 1 เซนติเมตร กึ่งกลางมีติ่ง สีเหลือง ด้านลา่ งหยกั และมีติ่งแหลมเลก็ น้อย ฤดูดอก ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ลกั ษณะทั่วไป มีชอบอากาศเยน็ ดูแลรักษางา่ ย ถ้าปลกู ในทีร่ ม่ ดอกจะบานได้หลายวัน 18 รูปที่ 1 ลกั ษณะต้น ใบ ดอก รองเท้านารีดอยตงุ การขยายพนั ธุ์กล้วยไม้ การขยายพันธุ์คือการเพิ่มจำนวน ซึ่งจำนวนที่เพิ่มอาจมีความแตกต่างหรือ เหมือนเดิมก็ได้การขยายพนั ธก์ุ ล้วยไม้เหมือนกับการขยายพันธุพ์ ืชอืน่ ๆ (ครรชติ , 2547) โดยมี 2 วิธกี าร คือ 1. การขยายพันธุ์พืชภายในห้องปฏิบัติการ เป็นกระบวนการผลิตต้นพืชใน อาหารสังเคราะห์ที่ปลอดเชื้อ เพื่อให้ได้ต้นที่มีคุณภาพดีและสม่ำเสมอ (นพมณี, 2545) ซึ่ง การขยายพนั ธ์ุพืชในสภาพปลอดเชื้ออาจแบ่งเปน็ 2 วิธีคือ 1.1. การเพาะเมล็ด เป็นการนำเอาเมล็ดจากฝักมาเพาะเลี้ยง บนอาหาร วิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเช้ือ เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้มีขนาดเลก็ มาก ในฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด ตั้งแต่ไม่กีเ่ มลด็ ไปจนถึงนบั หมืน่ นบั แสนเมลด็ ขึ้นอยูก่ บั ชนิดของกล้วยไม้และพนั ธุกรรมของต้น แม่และต้นพอ่ อีกท้ังในเมลด็ กล้วยไม่มีอาหารสะสม ทำให้ในธรรมชาติต้องอาศัยอาหารจาก เช้ือรา ที่อาศัยอยู่ในเมล็ดเป็นการพึ่งพาอาศัยซ่งึ กันและกัน การนำเมล็ดมาเพาะบนอาหาร 19 วิทยาศาสตร์ จะชว่ ยให้ได้จำนวนต้นกล้ามากกว่าการเพาะเมล็ดในธรรมชาติหลายเท่า และมี สภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสม (ครรชติ , 2547) การขยายพันธด์ุ ้วยวธิ ีการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเช้อื จะเริ่มจากทำการคัดเลือก พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ โดยคัดเลือกต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีดอกที่เพิ่งบานและพร้อมจะผสม จากนั้นทำการผสมพันธ์ุ โดยทำการเดด็ กระเป๋าออก สังเกตที่เกสรเพศผู้ยงั สด มีสีเหลืองและ ไม่หมองคล้ำ ใช้ไม้จิ่มฟันเขีย่ เกสรเพศผู้ของต้นแม่พันธุ์ออกจากดอก จากนั้นใช้ไม้จิ่มฟันเขยี่ เกสรเพศผู้ของต้นพ่อพันธุ์วางบนแผ่นพลาสติกเล็ก ค่อยๆ เขี่ยส่วนที่เป็นละอองเกสรเพศผู้ ลกั ษณะคล้ายแป้งเปียกสีเหลืองออกจากก้อนเกสร นำมาเกลี่ยบนยอดเกสรเพศเมียของต้นแม่ พันธุใ์ ห้ท่ัว เขียนป้ายระบุชือ่ ต้นพอ่ พันธุ์ และต้นแม่พันธ์ุ และวันที่ผสม แล้วติดไว้บนกาบดอก นั้น ต่อมา 1 อาทิตย์ ถ้าผสมติด รังไข่จะมีสีเขียว ยาว และใหญ่ขึ้น สำหรับอายุฝักที่นำไป เพาะเมล็ดน้ัน จะขึ้นอยู่กับชนิดและพันธ์ุ (อุไร, 2550) การเพาะเมล็ดกล้วยไม้สามารถเพาะได้ทั้งเมล็ดจากฝักแก่ และเมล็ดจากฝักอ่อน ข้อดีของการเพาะเมล็ดจากฝกั ออ่ น คือ ประหยัดเวลาไมต่ ้องรอจนฝักแก่ ต้นแมพ่ นั ธ์ไุ มโ่ ทรม เนื่องจากต้องเลี้ยงฝักนาน และป้องกันปัญหาฝักร่วงก่อนกำหนด ข้อเสียของการเพาะเมล็ด จากฝักอ่อนคือ ต้องรีบเพาะทันที หลังจากตัดฝักจากต้น มิฉะนั้น ฝักจะเหี่ยวหรือเสีย แต่ถ้า เป็นฝกั แก่หากเก็บไว้ในทีแ่ ห้งและเยน็ สามารถอยู่ได้ยาวนานกวา่ มาก (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) เมล็ดกล้วยไม้ทั่วๆ ไปจะงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซยี ส ถ้าเมลด็ ออ่ นมากต้องให้ได้รับอุณหภูมิที่ต่ำลงระหวา่ ง 20 – 28 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นเมล็ด อ่อนจะมีสีดำและงอกได้น้อย การเพาะเมลด็ ที่เกือบแก่หรือเมลด็ ร่วน เมื่อเพาะเลี้ยงในสภาพ ปลอดเชื้อเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ อุณหภูมิที่สูงเกินไปมีผลทำให้เมล็ดไม่งอกและทำให้ต้น ออ่ นในขวดเพาะตายได้ โดยมีอาการแบบตายนึง่ (จิราพรรณ, 2536) การเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีมักมีความไม่แน่นอน เนื่องจากเมล็ดกล้วยไม้ มีขนาดเล็กมาก เปลือกหุ้มเมล็ดมีลกั ษณะแขง็ และปกคลมุ ไปด้วยขนทำให้ยากต่อการเปียก น้ำ เป็นผลทำให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่เยื้อชั้นในของเมล็ดได้ยาก (Northen, 1970 ; Van Schude et al, 1986) มีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ และ/หรือไม่มีความสม่ำเสมอ เมล็ดที่งอก เป็นโปรโตคอร์ม ตลอดจนโปรโตคอร์มทีพ่ ัฒนาไปเปน็ ยอดและต้นกลา้ ทม่ี ีขนาดเล็กมักจะตาย ในเวลาต่อมา ปัจจัยที่เหมาะสมในการงอกและการพัฒนาของโปรโตคอร์มขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุฝัก สารกระตุ้นการเจริญเติบโต ความเป็นกรดเป็นด่างของอาหาร สูตรอาหาร สำหรับการเพาะเมล็ด และการพัฒนาของโปรโตคอร์ม (ธีรพล, 2535) อายุฝกั ของกล้วยไม้รองเท้านารีโดยท่ัวไปที่นิยมนำมาเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเช้ือ คือ ประมาณ 5 – 7 เดือนหลังการผสมเกสร (อุไร, 2550) ฝักอาจแก่เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับ 20 สิง่ แวดล้อม เชน่ แสงสว่าง ความชุ่มชื้น และความสมบูรณ์ เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) ตัวอย่างช่วงอายุฝักของกล้วยไม้รองเท้านารีที่มีความเหมาะสมในการนำมาเพาะเลี้ยงใน สภาพปลอดเชื้อ เช่น ฝักของกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีนและรองเท้านารีฝาหอย อายุฝัก ระหว่าง 18 – 25 สัปดาห์หลงั การผสมเกสร มีเปอร์เซ็นต์การงอกทีส่ ูง และให้โปรโตคอร์มทีม่ ี ขนาดใหญ่ (ธีรพล, 2535 ; เกษนันท,์ 2540) 1.2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการนำชิ้นส่วนพืช อาจเป็นเนื้อเยื่อเจริญ เนื้อเย่อื อวยั วะ เซลล์ หรือเซลล์ที่ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ในสภาพปลอดเช้อื และอยู่ในสภาวะควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง และความชื้น จนกระทั้งส่วนของพืชเหล่านี้ สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นต้นพืชได้ (อรดี, 2533) ในส่วนของกล้วยไมช้ ิ้นส่วนที่นิยม นำมาเลี้ยง ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ ตายอด ตาข้าง ชอ่ ดอก ใบ และราก เปน็ ต้น (ครรชิต, 2547) 2. การขยายพันธุ์พืชภายนอกห้องปฏิบัติการ การขยายพันธุ์ภายนอกห้องปฏิบัติการส่วน ใหญ่เป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับการเพิ่มจำนวนต้นที่มี ลักษณะที่ดีซึ่งได้ทำการคัดเลือกไว้แล้ว โดยสามารถแยกเป็นวิธีต่างๆ ตามลักษณะการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้ (ครรชิต, 2547) ดังนี้ 2.1 การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโต แบบประเภทแตกกอ หรือ ซิมโพเดียล คือกล้วยไม้ที่งอกลำต้นใหมจ่ ากส่วนของตาบริเวณฐาน ของลำต้น เช่น สกลุ หวาย สกุลรองเท้านารี สกลุ แคทลียา กล้วยไม้ดิน เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้ บางเลน, 2548) 2.1.1. การตัดแยกลำหน้า ลำหน้าเป็นลำกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโต เป็น ลำที่จะให้ดอก จึงไม่นิยมตัดแยกลำหน้าไปปลูกใหม่ นอกจากมีความจำเป็นในบางกรณี เช่น กล้วยไม้เจริญเติบโตเป็นกอใหญจ่ นเตม็ ล้นกระถางปลูก หรือ เครือ่ งปลูกเน่าเปือ่ ยผผุ ัง เป็นต้น วิธีการตัดแยกลำหน้า คือปล่อยให้ลำหน้าเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อใหม่จากตา รอ จนกระทั่งหนอ่ ที่เกิดใหม่มีรากโผล่ออกมาจึงตกั แยกไปปลกู โดยใช้มีดหรือกรรไกรตดั แยกลำ หน้า 2 ลำติดกนั แล้วจึงทำการแยกไปปลกู ได้เลย (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.1.2. การตดั แยกลำหลัง การตดั แยกลำหลังนอกจากเป็นการขายพนั ธ์เุ พอื่ เพิ่มปริมาณแล้ว ยงั ทำให้กล้วยไม้มกี ารเจริญเติบโตทีด่ ีขนึ้ อีกด้วย กล้วยไม้ทีจ่ ะทำการตัดแยก ลำหลงั ควรมีลำลกู กล้วยอยา่ งน้อย 4 ลำ วิธีการตัดแยกโดยใช้มดี หรือกรรไกรที่คม สอดเข้าไป ระหว่างลำลูกกล้วย แล้วตัดส่วนของเหง้าให้ขาดจากกัน ใช้มีดป้ายปนู แดง แล้วทาที่บาดแผล ให้ทัว่ เพื่อป้องกนั เช้อื โรคเข้าทำลายทางบาดแผล เนือ่ งจากลำหลังเปน็ ลำแกท่ ีอ่ ยใู่ นระยะฟกั ตัว ถ้ายกไปปลูกเลยรากแก่อาจเสียหายได้ รากใหม่กไ็ ม่มีโอกาสเจริญออกมา จึงต้องปล่อยถึงไว้ 21 ในภาชนะเดิม คอยจนกระทั้งมีการแตกหน่อใหม่ขึ้นมาและเริ่มมีรากงอกออกมาที่โคนลำ พอสมควร จึงทำการแยกไปปลกู ในภาชนะใหมไ่ ด้ (สำอางค์, 2546) 2.1.3. การปักชำ ใช้กับลำหลงั ของกล้วยไม้สกลุ หวาย โดยทำการตัดชำไว้ใน กาบมะพร้าวหรือวัสดุที่อุ้มความชื้น ลำนี้อาจจะแตกหน่อทีโ่ คนหรือแตกตะเกียงที่กลางหรือ ปลายลำก็ได้ เมือ่ ต้นใหมแ่ ตกออกมา 1 – 2 ลำ ก็ตดั แยกออกปลูกได้ ตอทีเ่ หลืออยู่ปักชำทิ้งไว้ ต่อไปกอ็ าจแตกตะเกียงได้ใหม่อกี (ครรชติ , 2547) 2.1.4. การตัดตะเกียง บางครั้งตามข้อตรงบริเวณกลางหรือปลายลำต้น กล้วยไม้สกุลหวาย จะพบการแตกต้นใหมห่ รือทีเ่ รียกว่าตะเกียง ตะเกียงที่มีรากติดอยูส่ ามารถ ตัดออกแล้วนำไปปลกู ได้ (ครรชิต, 2547) 2.2. การขยายพนั ธ์กุ ลว้ ยไม้ประเภทไมแ่ ตกกอ กล้วยไม้ทม่ี ีการเจริญเติบโต แบบประเภทไม่แตกกอ หรือ แบบโมโนโพเดียม คือ กล้วยไม้ประเภทนี้มีการเจริญเติบโตทาง ส่วนยอดสูงขึ้นไปเรือ่ ยๆ เปน็ ลำต้นเดี่ยว กล้วยไม้ประเภทนี้ เช่น สกุลช้าง สกลุ เข็ม สกุลแวนด้า สกลุ กุหลาบ สกลุ ม้าวิง่ สกุลฟาเลนอปซิส เป็นต้น (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.2.1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกข้อที่สั้น เช่น สกุลช้าง สกุลแวนด้าใบแบน ยอดที่ตัดต้องมีรากติดไปด้วยอย่างน้อย 1 ราก ถ้าเป็นพวกข้อห่างปล้องยาว เช่น สกุล แวนด้าใบกลม สกุลรีแนนเธอรา่ สกุลแมลงปอ ยอดที่ตัดควรมีรากติดไปดว้ ยอยา่ งน้อย 2 ราก (ไพรบูลย์, 2521) 2.2.2. การตัดตะเกียงหรือแขนง กล้วยไม้ประเภททีไ่ ม่แตกกอจะมีการแตก แขนงจากตาที่อยขู่ ้างลำต้นเปน็ แขนงหรือตะเกียง สำหรบั ต้นที่ถกู ตดั ยอดไปแล้ว จะทำให้ต้นที่ ถูกตดั แตกแขนงหรอื ตะเกียงไดง้ ่ายข้นึ การตัดแขนงหรือตะเกียงไปปลูกใหม่ ควรเปน็ แขนงหรือ ตะเกียงที่เจริญเติบโตพอสมควร มีรากที่แข็งแรง และยาวพอสมควรติดอยู่อย่างน้อย 2 – 3 ราก มีใบ 2 – 3 คู่ โดยการใชม้ ีดคมๆ ตดั ยอดทีม่ ตี ะเกียงติดอยู่ตรงบริเวณใต้ตะเกยี ง ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร หรือตดั เฉพาะตะเกียงที่มีหนอ่ ติดอยู่ จากน้ันทาด้วยปูนแดงบริเวณบาดแผล กอ่ นนำไปปลูกไว้ในที่ร่ม จนกวา่ จะต้ังตวั ได้ จึงนำไปปลูกไว้ในสภาพปกติตอ่ ไป (ชมรมกล้วยไม้ บางเลน, 2548) การปลกู เลีย้ งกลว้ ยไม้ 22 การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีให้เจริญงอกงามได้ดีในประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องทราบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีแต่ละชนิด ซึ่งมี ลักษณะความเจริญแตกต่างกัน ดังนั้นในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารี จึงต้องรู้ แหล่งกำเนิดของกล้วยไม้แต่ละชนิด แล้วใช้เครื่องปลูกให้เหมาะสมกบั สภาพสิ่งแวดล้อมแต่ละ ชนิด จึงจะทำการปลกู กล้วยไม้สกลุ รองเท้านารีให้เจริญเติบโตได้ กล้วยไม้สกลุ รองเท้านารีที่มี อยตู่ ามธรรมชาติ มีการเจริญเติบโตอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดแรก เปน็ กล้วยไม้รองเท้านารีที่ขึ้นอยู่ บนต้นไม้ตามธรรมชาติ ชนิดที่สอง เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีทีข่ นึ้ อย่ตู ามแอ่ง หรือซอกหินปูนที่ มีใบไม้ผๆุ ร่วนซุย ทบั ถมกนั มาเป็นเวลานานปี ดั้งน้ัน การปลูกก็ต้องอาศัยหลังธรรมชาติการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดน้ันๆ (ชวลิต, 2546) สำหรับการปลูก กล้วยไม้รองเท้านารี ผทู้ ี่ปลกู เลี้ยงน้อยๆ ควรปลกู ลงกระถางดิน เผา ขนาดทีน่ ิยมคือเส้นผ่าศนู ย์กลาง 4 นิ้ว และเป็นกระถางที่ระบายน้ำได้ดี ก่อนปลูกเมื่อนำ กระถางดินเผามาแล้วเอาก้อนหินหรือกระถางที่แตกปิดทับรกู ้นกระถางเสียก่อน เพื่อป้องกนั ไมใ่ ห้เครือ่ งปลกู ร่วงออกมา แล้วใช้ทรายหยาบปิดทับก้อนหินหรือกระถางแตกนั้น เปน็ การรอง ก้นกระถางด้วยทรายให้หนาประมาณนิ้วครึ่ง แล้วจึงใส่เครือ่ งปลกู วิธีการปลกู นำต้นกล้วยไม้ ทีจ่ ะปลูกมาจดั รากให้ตั้งแผล่ งบนเครื่องปลกู จัดให้ต้นต้ังตรงจากนั้นกใ็ สเ่ ครื่องปลูกลงไป ควน ให้เหง้าอยู่ระดับผิวดินเครื่องปลูกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ก็จะช่วยให้การตายลดน้อยลงได้ทาง หนึ่ง การปลูกอยา่ ใส่เครื่องปลูกให้แน่นจนเกินไป เมื่อปลกู เสร็จแล้วใช้กรวดหรือทรายหยาบ หรือก้อนหินเล็กๆ โรยทบั บนเครือ่ งปลกู อีกช้ันหนึ่ง เพื่อป้องกนั น้ำกดั เซาะเครื่องปลูกกระเด็น ขึ้นถูกใบ จากนั้นจึงนำไปไว้ในโรงเรือน การรดน้ำในตอนแรกควรให้น้ำแต่น้อย แล้วจึงเพิ่ม ปริมาณให้มากขึ้นหลังจากกล้วยไม้ฟื้นตัวแล้ว (ไชยา และ ลาวลั ย์, 2534) การปลูกเลี้ยงลูกกล้วยไม้ เป็นการนำลูกกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดหรือ เพาะเลี้ยงเนื้อเยือ่ ภายในห้องปฏิบัติการมาทำการออกปลกู โดยการย้ายลกู กล้วยไม้ออกจาก ขวดจะกระทำเมื่อลูกกล้วยไม้ภายในขวด มีการเจริญเติบโตพอสมควร มีใบมีรากดี จึงเอา กล้วยไม้ออกจากขวดเพื่อนำไปปลูกเลี้ยงในกระถางต่อไป ถ้าปล่อยไว้ในขวดเมื่ออาหารของ กล้วยไม้หมดแล้วอาจจะมีราเกิดขึ้นในวุ้นนั้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อลูกกล้วยไม้ได้ (สำอางค์, 2546) วิธีการเอาลูกกล้วยไม้ออกจากขวดคือ นำขวดลูกกล้วยไม้ไปวางในโรงเรือนปลูก กล้วยไม้ให้ได้รับแสงน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ลูกกล้วยไม้ทนต่อ สภาพแวดล้อม (สำอางค์, 2546) จากนั้นทำการเปิดจกุ ขวดออกเอาน้ำใส่ให้เต็มขวด เอาขวด 23 วางลงในภาชนะทีใ่ ส่น้ำเตรียมไว้ให้ขวดจมลงในน้ำ ทบุ ก้นขวดให้แตกแล้วเทลูกกล้วยไม้ออกมา แชล่ ูกกล้วยไม้ลงในน้ำผสมทิงเจอร์ 1 – 2 นาที เพ่อื ฆ่าเช้อื โรค จากน้ันจึงนำลูกกล้วยไม้ออกใส่ ตะกร้า ผึ่งให้แห้งสักครู่แล้วจึงนำไปปลูกต่อไป ในการออกขวดนี้ ลูกกล้วยไม้ยังอ่อนแอมาก พยายามอยา่ ให้รากกระทบกระเทอื นมาก ถ้ารากพนั กนั แนน่ ไม่ต้องแยกออกให้ปลูกรวมกันไป ก่อน เมือ่ โตเต็มที่แล้วประมาณ 3 เดือน จึงแยกออกจะง่ายกว่า (สมศักดิ์, 2540) ปจั จัยทีเ่ กี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกล้วยไมร้ องเท้านารี ด้วยเหตุที่กล้วยไม้รองเท้านารีกำเนิดในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่อุดมไปด้วย แร่ธาตุต่างๆ ความชื้น อุณหภูมิ และปริมาณแสงที่พอเหมาะ ณ บริเวณที่อิงอาศัยตามราก ต้นไม้ บนต้นไม้ใหญ่ ซอกหินปูน หรือพื้นดินที่มีซากใบไม้ผุทับถมเป็นเวลานาน เมื่อมีการนำ กล้วยไม้รองเท้านารีไปปลกู เลี้ยง จึงควรปรบั สภาพให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตด้วย (อุไร, 2550) 1. โรงเรือน หลักการในการพิจารณาสำหรับโรงเรือนกล้วยไม้รองเท้านารีน้นั คือ ประการแรก เพื่อให้ต้นกล้วยไม้ได้อาศัยร่มเงา และเสริมแต่งความชื้นของบรรยากาศ ให้มีลักษณะค่อนข้างสม่ำเสมอ ประการที่สอง สามารถควบคุมปริมาณและแรงจากน้ำฝน มิให้กล้วยไม้ต้องตกอยู่ในสภาพแฉะหรือชื้นมากเกินไป กับป้องกันมิให้ถูกแรงกระทบจาก ฝนขณะตกลงมาแรงด้วย ดังนั้นลักษณะและคุณสมบัติของโรงเรือนสำหรับปลูกรองเท้า นารี จึงควรทำหลังคาสองช้ัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติของท้องถิ่นมีอากาศร้อน และช้ืน ช้ันบนควรเป็นหลังคาซ่ึงมีไว้กรองแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ส่วนชั้น ล่างขึงด้วยพลาสติกใสเพื่อป้องกันน้ำฝน ถ้าตั้งกระถางกล้วยไม้รองเท้านารีไวบ้ นพื้น จะต้อง ปูพนื้ ด้วยทราย อิฐมอญ หรือกระเบ้อื ง เพื่อปอ้ งกนั พื้นโรงเรือนอย่ใู นสภาพน้ำท่วมขังได้(ระพี, 2535) 2. แสงสว่าง กล้วยไม้แตล่ ะชนิดแต่ละสกลุ ต้องการแสงสว่างมากน้อยแตกต่างกัน สังเกตได้จากธรรมชาติตามป่าที่กล้วยไม้ชนิดนั้นๆขึ้นอยู่ ดังนั้นสภาพที่นำมาปลูกเลี้ยงจึง จำเป็น ต้องใช้โรงเรือนที่มีลักษณะการให้แสงสว่างผ่านคล้ายๆ ของธรรมชาติตามความ ต้องการของกล้วยไม้นั้นๆ (ระพี, 2530) เช่น การในการศึกษาความเข้มของแสงที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารี 4 ชนิดคือ กล้วยไม้รองเท้านารีฝาหอย กล้วยไม้รองเท้านารี เหลืองตรัง กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองปราจีน และกล้วยไม้รองเท้านารีคางกบ พบว่าความเขม้ ของแสงที่ 30 – 40 เปอรเ์ ซ็นต์ มีผลทำให้จำนวนใบตอ่ ต้น และความยาวของใบมากทีส่ ุด (พัช รินทร์, 2541) 24 3. ความชื้นสัมพัทธ์ ปกติกล้วยไม้รองเท้านารี ต้องการความชื้นสงู แต่ไม่ชอบแฉะ คือความชื้นสัมพัทธป์ ระมาณ 45 เปอรเ์ ซน็ ต์ ในตอนกลางวัน และ 80 เปอร์เซน็ ต์ ในตอนกลาง คืน ความชื้นสัมพัทธ์ ยิ่งมากยิ่งดี จะทำให้เจริญงอกงามและเติบโตได้เร็ว (สมศกั ดิ์, 2540) 4. อุณหภมู ิ กล้วยไม้ในเขตร้อนจะเจริญเตบิ โตไดด้ ีในชว่ งอุณหภมู ิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส ปัจจัยที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของประเทศไทยไม่เป็นอุปสรรคมากนักในการปลูก เลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจากความแตกต่างของระดับอุณหภูมิในแต่ละท้องที่มีไม่มากนัก ความ แตกต่างของอุณหภูมิเปน็ ผลมาจากความเข้มของแสงแดด ความชื้นในบริเวณน้ัน และลมที่พัด ผ่าน (ครรชิต, 2547) 5. การเคลื่อนท่ขี องอากาศ กล้วยไม้แตกต่างจากพืชอืน่ คอื เจริญเติบโตได้ดีในที่มี ลมออ่ นๆ พัดผ่านโดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศ ดังนั้นบริเวณที่ปลูกเลี้ยงควรโล่งเพื่อให้ลม พัดผ่านท้ังต้น และรากไม่ควรปลกู บริเวณที่อับลม ซึง่ จะเหน็ ได้ว่ากล้วยไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี มักปลูกเลี้ยงโดยใช้ลวดแขวน มีการใช้เครื่องปลูก และภาชนะปลกู ที่โปร่งเพือ่ ให้มีการถ่ายเท อากาศทีด่ ี (วิทยา, 2526) รปู ท่ี 2 ต้นกล้วยไม้รองเท้านารีดอยตุงทีป่ ลูกเลี้ยงภายในโรงเรือน 6. วัสดปุ ลูกกลว้ ยไม้ เนื่องจากระบบรากของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีมิใช่รากฝอย เช่นต้นไม้อืน่ ๆ หากมีแกนรากเลก็ ผวิ รากหนาอวบน้ำ ทีผ่ ิวมีขนละเอียด ซึ่งเป็นลักษณะรากที่ ต้องการอากาศถ่ายเทโดยรอบ และการที่ภายในผิวรากมีลักษณะอวบน้ำ ย่อม หมายความว่าไม่ต้องการสภาพที่มีน้ำมากและเปียกอยูน่ าน ดังนั้นคุณสมบัติของเครื่องปลูก ควรที่จะระบายน้ำได้ดี มีความทนทานพอสมควร (ระพี, 2535) 25 วัสดุปลกู กล้วยไม้สกลุ รองเท้านารีที่นิยมใช้กันโดยทัว่ ๆ ไป เช่น อิฐมอญก้อนเลก็ ๆ ถ่านไม้ กระถางแตก ทรายหยาบ กรวด กาบมะพร้าวใบไม้ผุ เปลือกถั่ว โฟมเม็ด หินภูเขาไฟ ขี้เถ้าแกลบ เป็นต้น(สมศกั ดิ์, 2540) คณุ สมบตั ิของวัสดปุ ลกู ทีน่ ิยมใช้ มีดงั นี้ 6.1. ออสมันด้า เป็นรากเฟิร์นสกุลออสมันด้า(Osmonda spp.) มีลักษณะเป็นเส้น ฝอยสีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ข้อดีคือ มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำดีมาก แม้ว่าอัดกนั แน่น จึงไม่มีปัญหาเรื่องให้น้ำมากเกินไป เก็บน้ำได้ดีประมาณ 140 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก ข้อเสีย หาได้ยาก ราคาแพง และใชง้ านยากเนื่องจากตัดแยกเสียเวลานาน ออสมันด้า ใช้ได้ดีกับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศทุกชนิด เนื่องจากราคาค่อนข้างสูงจึงนิยมใช้กับ กล้วยไม้ที่มีราคาแพง (ครรชิต, 2541) ในส่วนของปริมาณธาตุอาหารในออสมันด้า มี ปริมาณธาตุอาหาร N:P:K เท่ากับ 0.34 0.0006 และ 0.0425 ตามลำดับ และมีค่าความ เปน็ กรด – เบส อย่ทู ี่ 5.5 (ไพสนธิ์, 2542) 6.2. กาบมะพร้าว กาบมะพร้าวที่นำมาใช้จะต้องเป็นกาบมะพร้าวที่แก่จัด และแห้งแล้ว ข้อดี เป็นวัสดุที่ราคาถกู และหาได้ง่าย จึงนิยมใช้ในการปลกู เลี้ยงกล้วยไมเ้ ปน็ ส่วน ใหญโ่ ดยเฉพาะเพือ่ การค้า ข้อเสีย ถ้ารดน้ำมากเกินไปกาบมะพร้าวจะอุ้มน้ำได้มาก อาจทำให้ รากเน่าเสียได้ มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 1 – 2 ปี ก็จะต้องทำการเปลี่ยนเครื่อง ปลูกใหม่ (ครรชิต, 2541) ในส่วนของปริมาณธาตุอาหารในกาบมะพร้าวสับ มีปริมาณธาตุ อาหาร N:P:K เท่ากับ 0.35 0.0187 และ 0.5581 ตามลำดับ และมีค่าความเป็นกรด – เบส อยูท่ ี่ 5.7 (ไพสนธิ์, 2542) 6.3. โฟม เปน็ วัสดุเหลือใช้จากการห่อสินค้า ตดั ให้มีขนาดพอเหมาะแล้วใส่ใน กระถางแทนเครื่องปลูกอื่นๆ ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา ไม่อุ้มน้ำแต่ช่องว่างระหว่างก้อน โฟมสามารถเก็บความชื้นได้ดี มีความยืดหยุ่นทำให้ยึดต้นได้ดี รากสามารถแทงผ่านโฟมได้ (ครรชติ , 2547) 6.4. สแฟกนัมมอส นิยมใช้กันมากในต่างประเทศโดยเฉพาะในแถบยุโรป โดยใช้ สแฟกนัมมอสผสมกับออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ทั้งเล็กและใหญ่ เนื่องจากส แฟกนมั มอสชว่ ยให้เครื่องปลกู อุ้มน้ำได้ดีขึ้น (ระพ,ี 2530) 6.5. ถ่าน จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่ แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่าย ดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ข้อเสียคือ มกั จะมีเชื้อรา (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) ถ่านเป็นเครื่องปลกู ทีม่ ีคณุ สมบตั ิเหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของรากและต้นกล้วยไม้รองจากออสมันด้า และยังมีข้อดีกว่าคือราคาไม่แพงนัก และสะดวกในการใช้ปลูก ถ่านที่นำมาใช้เป็นเครือ่ งปลูกนั้นจะต้องแช่น้ำสกั 2 คนื เพื่อลดด่าง ที่มอี ยู่ในถา่ นเสียกอ่ น (สำอางค์, 2546) 26 6.6. ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ด การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบราก แบบกึ่งอากาศ นักเลี้ยงกล้วยไม้บางท่านใช้ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ดทีไ่ ด้ล้างสะอาด แล้วเป็นเครื่องปลูก ในการใช้ทรายหยาบและหินขัดหรือหินเกล็ดปลูกกล้วยไม้นี้อาจใช้ทั้ง 2 อย่างก็ได้ หรืออาจจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่การใช้ทรายหยาบเพียง อย่างเดียวมีข้อเสีย คือเมื่อรดน้ำทรายมกั จะไหลออกจากกระถางถ้าไมร่ ะมดั ระวัง (สำอางค์, 2546) 6.7. อิฐหักหรือกระถางแตก เป็นเครื่องปลูกที่เก็บความชื้นได้ดี ไม่ย่อย สลาย แต่มีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องใช้แรงงานมากในการปลูกและเคลื่อนย้าย นอกจากนี้ยงั มี ปัญหาเรือ่ งตะไครน่ ้ำขึ้นที่ผิวเครื่องปลูกและรากกล้วยไม้ ถ้าบริเวณที่ปลูกมีความช้ืนสูงมาก ทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของรากลดลง กล้วยไม้จึงไม้เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นเครื่องปลูกพวกนี้มักใช้กับกล้วยไม้ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินเป็นแปลงใหญเ่ พื่อช่วยระบายน้ำ (สำอางค์, 2546) การนำวัสดุปลูกมาทำการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีนั้น จะต้องคำนึงถึง ปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่รองเท้านารีได้รบั ด้วย ซึง่ อาจแบ่งได้เปน็ 2 ประเภท คอื เครื่องปลูกสำหรับลูกกล้วยไม้ ซึ่งต้องการธาตุอาหารน้อย อาจใช้ส่วนผสมดังนี้ สูตร 1 ขี้เถ้าแกลบ ทรายหยาบ และโฟมหัก ในอัตราส่วน 1:1:2 สูตร 2 ขี้เถ้าแกลบ กาบ มะพร้าวสับ และโฟมหัก ในอตั ราสว่ น 1:1:1 และสตู ร 3 ใช้สแฟกนมั มอสเพียงอยา่ งเดียว (อุไร ,2550) เครื่องปลูกสำหรับกล้วยไม้ต้นใหญ่ ซึ่งต้องการธาตุอาหารปานกลาง อาจใช้ ส่วนผสมดงั นี้ สตู ร 1 อิฐมอญทุบ หินเกล็ด และเปลือกถั่วลิสงหกั ในอัตราส่วน 1:1:1 สูตร 2 อฐิ มอญทุบ ดินขยุ ไผ่ และโฟมหกั ในอัตราสว่ น 1:1:1 สูตร 3 อิฐมอญทุบ ใบไม้ผุ และหินเกล็ด ใน อัตราส่วน 1:1:1 และสตู ร 4 อิฐมอญทุบ ถา่ นทุบ และหินเกลด็ ในอตั ราสว่ น 1:1:1 (อไุ ร,2550) 7. ภาชนะปลูก ภาชนะปลูกกล้วยไม้รองเท้านารีควรเป็นกระถางดินเผา เพราะผิว กระถางมีความพรุน อากาศและน้ำสามารถผ่านเข้าออกได้ และสามารถเก็บความชื้นได้ดี ทำ ให้กระถางและเครือ่ งปลกู เยน็ ระบบรากจะเจริญเติบโตได้ดี สำหรบั กระถางพลาสติกมีน้ำหนกั เบา แต่การระเหยของน้ำและการไหลเวียนของอากาศมีเพียงบริเวณผิวเครื่องปลูกเทา่ นั้น ทำ ให้เครื่องปลูกแฉะค่อนข้างนาน ส่วนกระเช้าไม้เหมาะสำหรับรองเท้านารีที่มีรากกึ่งอากาศ นอกจากนี้ควรเลือกใช้ภาชนะที่เหมาะกับต้น ไม่ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดใหญเ่ กินไป เพราะเมอื่ ปลกู ไปนานๆ เครือ่ งปลูกด้านลา่ งกระถางจะมีสภาพเป็นกรด เนือ่ งจากมีการสะสมของเกลือแร่ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อต้นไม้ได้ อาจแก้ไขโดยการใช้เครื่องปลูกลึกเพียง 7 – 8 เซนติเมตร เหนือหินกรวดหรือโฟมหกั (อุไร, 2550) 27 8. น้ำ สำหรบั น้ำทีจ่ ะน้ำมาใชร้ ดกล้วยไม้ได้ดี คือน้ำทีส่ ะอาด ไม่ขนุ่ ปราศจากเกลือ แร่ที่เป็นพิษแกก่ ล้วยไม้ละลายปนอยู่ และมีความเป็นกรดเป็นเบสหรือ pH อยู่ระหว่าง 6.0 – 7.0 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรบั ความต้องการของกล้วยไม้ คือ มี pH ประมาณ 6.5 แต่สำหรับน้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 และสูงกว่า 7.0 ขึ้นไป ไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่มี ีเกลือแรท่ ี่เป็นพิษละลายปะปนอย่ดู ้วย เพราะจะทำให้รากของกล้วยไม้ และลำต้นชะงักการเจริญเติบโตได้ (วทิ ยา, 2526) การดแู ลรกั ษา การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จำเป็นต้องให้น้ำและอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตและการ ออกดอกของกล้วยไม้ ในธรรมชาติกล้วยไม้ได้รับน้ำอย่างเหมาะสมจากความชื้นในสภาพป่า จากน้ำฝนและจากวัสดทุ ีร่ ากกล้วยไม้เกาะยึดและเจริญอยู่ และในขณะเดียวกนั กไ็ ด้รบั อาหาร จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ (organic matter) บริเวณรอบๆ รากและจากน้ำฝน แต่เมื่อ นำมาปลูกเลี้ยงในสภาพที่แตกต่างจากธรรมชาติจึงจำเป็นต้องให้น้ำและปุ๋ย เพื่อให้ต้นมีการ เจริญเติบโต และออกดอก ดังนั้นการให้น้ำและอาหารแก่กล้วยไม้จึงเปน็ ปัจจัยที่สำคัญในการ ปลกู เลี้ยงกล้วยไม้ (ครรชิต, 2547) 1. การให้นำ้ เนื่องจากกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้ท่ีไม่ชอบแฉะ และไม่ชอบ ความชื้นสะสมอยใู่ นบริเวณเครือ่ งปลกู หรือโคนต้นนานมากเกินควร อยา่ งไรก็ตาม การให้น้ำ แม้ว่าจะกระทำสองหรือสามวนั ตอ่ ครั้งกค็ วรให้น้ำสามารถผ่านลงไปถึงด้านล่างได้อย่างทั่วถึง มิฉะนั้นแล้ว อาจเกิดดารสะสมของเช้ือราขึ้นภายในเครื่องปลูก หรือภายในกระถาง เนื่องจาก บางส่วนแห้ง บางส่วนเปียกได้ง่าย การให้น้ำไม่ควรใช้กระแสน้ำซึ่งแรงมาก ควรให้น้ำเป็น ละอองหรือเป็นฝอยละเอียด เพื่อป้องกันเครื่องปลูกกระเด็นและทำให้ต้นซ้ำ เน่าได้ง่าย (ระพี, 2535) เวลาในการให้น้ำ ช่วงเวลาทีเ่ หมาะสมแก่การให้น้ำกล้วยไม้ควรเป็นช่วงเวลาเช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่เครือ่ งปลูกผา่ นเวลากลางคืน มีผลทำให้เครื่องปลกู คลายความร้อนซึ่งดูดไว้ ระหวา่ งช่วงเวลากลางวันที่ผา่ นมา (ระพี, 2549) 2. การใหป้ ยุ๋ หากใช้อนิ ทรียวตั ถเุ ปน็ เครือ่ งปลูกรองพื้นแล้ว การให้ปุ๋ยเสริมย่อมมี ความจำเป็นน้อยลงมาก หนึ่งถึงสองสัปดาห์อาจให้หนึ่งครั้ง โดยอาจใช้ปุ๋ยสำเร็จละลาย น้ำออ่ นๆ แต่ควรแน่ใจวา่ ต้นไม้ที่ปลูกมีระบบ รากทีเ่ จริญแข็งแรงมนั่ คงดีพอสมควรแล้ว (ระพี, 2535) ปัจจุบันปุ๋ยทีผ่ ลิตขึ้นสำหรับใช้ให้กับกล้วยไม้น้ันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ปุ๋ยน้ำ และ ปุ๋ย เกล็ด ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้นจะต้องเลือกใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนพอเหมาะกับความต้องการของ 28 กล้วยไม้ เพื่อป้องกันปริมาณเกลือแรท่ ี่ไม่มีประโยชน์ที่มีอยใู่ นปุ๋ยมีปริมาณมากเกินไป อนั จะทำ ให้เกิดอันตรายตอ่ กล้วยไม้ได้ (ไชยาและลาวัลย์, 2534) เวลาในการให้ปุ๋ย การที่กล้วยไม้จะเจริญเติบโตได้นั้น จะต้องอาศัยแสงสว่าง อุณหภูมิ และความชื้น แสงสว่างหรือแสงแดดนี้ ช่วยให้รากของกล้วยไม้ดูดปุ๋ยเข้าไปอย่าง เต็มที่ ดังนั้นการให้ปุ๋ยกล้วยไม้ควรให้ในเวลาเช้า แต่ไม่ควรเกิน 10.00 น. เนื่องจากถ้าเกิน ช่วงเวลาดังกล่าวแล้วแสงแดดจัด เมื่อให้ปุ๋ยจึงอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้ และควร คำนึงถึงสภาพอากาศก่อนการให้ปุ๋ยอกี ด้วย ถ้าสภาพอากาศไมแ่ จ่มใส ครึ้มฝน ไมม่ ีแสงแดด ก็ ไม่สมควรให้ปุ๋ยแก่กล้วยไม้ เนื่องจากถ้าให้ปุ๋ยแล้วเกิดฝนตก น้ำฝนก็จะชะล้างเอาปุ๋ยไปด้วย ทำให้ต้นกล้วยไม้ไมไ่ ด้รบั ประโยชน์จากปุ๋ยทีใ่ ห้ไป (ชวลิต, 2546) 3. การเปลีย่ นเครื่องปลูกและกระถาง เปน็ สิ่งสำคัญสำหรับรองเท้านารี โดยเฉพาะต้นที่ มีพุ่มแนน่ กระถางหรือเครือ่ งปลูกเสื่อมคุณภาพ ทำให้การระบายน้ำไมด่ ี ต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังน้ันควรเปลีย่ นเครื่องปลกู ทกุ ๆ ปีจะช่วยให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีขนึ้ (อไุ ร, 2550) การเปลี่ยนเครื่องปลกู และกระถางควรปฏิบัติในช่วงทีร่ องเท้านารีไมม่ ีการออกดอก ไม่ควร ปฏิบัติในฤดูออกดอก เพราะจะทำให้ต้นไม่ออกดอกได้ สำหรับขนาดกระถางควรเลือกให้มีขนาด เหมาะสมกับต้น ไมใ่ หญเ่ กินไป และมีรรู ะบายน้ำโดยรอบ นิยมใชก้ ระถางดินเผา หรือกระเชา้ ไม้แขวน สำหรับรองเท้านารีรากอากาศหรือรากกึ่งอากาศ ส่วนเครื่องปลูกควรเป็นเครื่องปลูกที่ใหม่และ สะอาดด้วย หลงั จากเปลี่ยนเครือ่ งปลูกควรนำไปไว้ในที่มแี สงรำไรรกั ษาความช้นื ให้สมำ่ เสมอ จนกว่า ต้นจะแข็งแรง มีรากเพิ่มขึ้นจึงนำไปเลี้ยงในสภาพปกติ (อไุ ร, 2550) 4. การรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนและต้น หมั่นเก็บเศษไม้ ดอกแห้ง และวัชพืช ออกจากกระถาง และพื้นโรงเรือนอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงต่อไป โดยเฉพาะในฤดูฝน ควรโรยปูนขาวให้ท่ัวจะชว่ ยฆา่ เช้อื โรคภายในโรงเรือนได้ (อุไร, 2550) ศัตรูและการปอ้ งกันกำจัด การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไมว่ ่าจะเป็นงานอดิเรกหรือโดยเฉพาะอยา่ งยิง่ การปลกู เลี้ยง เพือ่ หวงั ผลทางเศรษฐกิจเปน็ การค้าแล้ว อาจมีปัญหาการเข้ารบกวนของโรคและแมลงศตั รูขึ้น ภายในเรือนเลี้ยงได้ ทำให้กล้วยไม้ไมเ่ จริญเติบโตตามที่ต้องการ ด้ังน้ันจึงจำเป็นทีผ่ ู้เลี้ยงจะต้อง ศึกษาทราบถึงโรคและแมลงศัตรแู ละวิธีการป้องกันกำจัด ไว้ด้วยเพอ่ื จะได้แก้ปัญหาที่มีขึ้นได้ ทนั ท่วงที (ไชยาและลาวลั ย์, 2534) 29 1. โรคของกล้วยไม้ โรคกล้วยไม้มีสาเหตุมาจาก รา แบคทีเรีย และไวรัส โรคที่ เกิดจากเชื้อรามักจะพบสว่ นของเช้อื รา ได้แก่ เส้นใย ลกั ษณะเปน็ ตุ่มนูนสีดำท่แี ผลของพืช โรค ทีเ่ กิดจากเช้อื แบคทีเรียจะพบส่วนที่เป็นโรคมีลักษณะชุ่มน้ำ เปน็ เมือกเยิ้มและมักมีกลิ่นเหม็น ถ้ามีความชื้นสูงจะเห็นเปน็ เมือกเยิ้มสีขาวหรือสีเหลืองขนุ่ ซ่งึ เปน็ กลุ่มของแบคทีเรีย โรคที่เกิด จากเชื้อไวรสั ต้องวินิจฉยั จากอาการของพชื เช่น ใบด่าง ดอกด่าง ใบเรียวเล็ก เปน็ ต้น เชื้อไวรสั เข้าทำลายพืชทางบาดแผลของต้นพืช และโดยแมลงเป็นพาหะในการถ่ายเช้อื (อดิศักดิ์, 2534) โรคกล้วยไม้ทส่ี ำคัญท่พี บในประเทศไทยได้แก่ 1.1. โรคเน่าดำหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเนา่ เขา้ ไส้ (Black rot) เกิดจากเช้ือ รา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้ราก แห้งมีผลทำให้ใบเหลืองและรว่ ง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเนา่ เปน็ สีน้ำตาลหากเป็นรนุ แรงเชื้อจะ ลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมี สีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณ ปากดอกและก้านดอก เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ ระบาดมากในฤดฝู นหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสงู (ครรชติ , 2547) การป้องกันกำจัด ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกกล้วยไม้ให้แน่นเกินไป ไม่ควรรดน้ำในตอนเย็นใกล้คำ่ เนือ่ งจากความช้นื สูงโรคนี้จะระบาดรนุ แรง ถ้าเป็นกบั กล้วยไม้ที่ โตควรตดั ส่วนที่เป็นโรคแล้วใช้สารเคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับไดเทน เอ็ม 45 และใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดเชื่อรา ซึ่งมีชื่อสามัญ เมทาแลกซิล (methalaczy) และแมนโคเซบ (mancozeb) ตามอัตราท่รี ะบไุ ว้ ฉีดพน่ บริเวณราก ลำต้น ใบและดอก (ครรชิต, 2547) 1.2. โรคดอกสนิมหรอื จดุ สนิม โรคนี้เปน็ ปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดง อาการระหว่างการขนสง่ ได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอกกลว้ ยไม้ โดย เริ่มแรกเปน็ จุด ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จดุ ขยายใหญ่มีสีเขยี วเขม้ คล้ายสนิม โรคนี้ระบาด ได้ดีในช่วงฤดฝู นหรือสภาพทีม่ นี ้ำคา้ งลงจดั (สำอางค,์ 2546) การป้องกนั กำจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปลอ่ ยให้ดอกกล้วยไม้บานโรย คาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทำลายเพือ่ ไมใ่ ห้เปน็ แหล่งสะสมโรคและฉีดพ่น ด้วยสารเคมีประเภทไดเทน เอม็ 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในชว่ งฤดูฝนควรฉีดพน่ ให้ถีข่ นึ้ แต่ต้องระมัดระวังเกีย่ วกับคราบยาทจ่ี ะเกิดขึ้นบนกลีบดอก จึงไม่ควรผสมยาจับใบลง ไป (สำอางค,์ 2546) 1.3. โรคใบปื้นเหลือง เกิดจากเชื้อ Pseudocercospora dendrobii มักเกิดกับใบ ที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมาก ๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตาม แนว ยาวของใบ เมือ่ พลิกดูใต้ใบจะเหน็ กล่มุ ผงสีดำ และใบจะเป็นสีน้ำตาลหลดุ รว่ งจากต้น โรค นี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว โรคใบปื้นเหลืองส่วนมากมักเกิดกับกล้วยไม้สกุลหวาย 30 สำหรับกล้วยไม้สกุลอื่นๆ นั้นพบเห็นโรคนี้เหมือนกันแต่น้อยกว่ากล้วยไม้สกุลหวาย (วิทยา, 2526) การป้องกันกำจัด เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยา ประเภทคาร์เบนดาซิม เชน่ มัยซิน ไดเทน เอ็ม 45 หรือ เบนเลท ทุก 7-10 วนั ขึ้นอยู่กับความ รนุ แรงของโรค (วิทยา, 2526) 1.4. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดปีลักษณะ อาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสี น้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง (ชมรมกล้วยไม้บาง เลน, 2548) การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์ เบนดาซิม เช่น มัยซิน ไดเทน เอม็ 45 หรือไดเทน แอล เอฟ (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 1.5. โรคแอนแทรกโนสหรือโรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. พบได้ ที่ปลายใบและกลางใบ ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นวงเรียงซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น และมีกลมุ่ ของเชื้อราเปน็ สีดำเกิดขึ้นบนวง (ไชยาและลาวลั ย์, 2534) การป้องกันกำจดั รวบรวมใบทีเ่ ป็นโรคทิ้ง และฉีดพ่นด้วยไดเทน เอ็ม 45 แคบเทน เดอโรซาล (ไชยาและลาวัลย์, 2534) 1.6. โรคต้นเน่าแห้งหรอื โรคราเมลด็ ผกั กาด เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii พบ มากบริเวณรากหรือโคนต้น ซ่งึ จะผุเปอ่ื ย ถ้าอากาศชื้นมาก ๆ จะมีเส้นใยสีขาว และมีเม็ดกลม ๆ คล้ายเมลด็ ผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น บางครั้งจะแสดงอาการทีใ่ บทำให้ใบเนา่ เป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและรว่ งตาย ไปในทีส่ ดุ มักระบาดในฤดฝู น (มาลินี, 2541) การป้องกันกำจัด เกบ็ รวบรวมใบกล้วยไม้ที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือ ฉีดพ่นด้วย เทอราโซล หรือ ไวตาแวกซ์ (มาลินี, 2541) 1.7. โรคเน่าเละ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli อาการเริ่มแรกจะ เป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน ลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสี น้ำตาลและฉ่ำน้ำ และต้นกล้วยไม้จะเน่าตายท้ังต้น (สมศักดิ,์ 2540) การป้องกันกำจัด ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปลูกต้น กล้วยไม้ให้แนน่ เกินไป จะทำให้อากาศระหว่างต้นกล้วยไม้ไมถ่ ่ายเท เกิดความช้ืนสูงซ่ึงง่ายต่อ การเกิดโรค และควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยยาปฏิชีวนะ เชน่ แอกริมัยซิน (สมศักดิ์, 2540) 1.8. โรคกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัส พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกกล้วยไม้ใน ปัจจุบัน เกิดจากเชื้อไวรัส Tobacco Mosaic Virus Orchid Strain (TMV-O) Cymbidium Mosaic Virus (CyMV) ลักษณะอาการที่ปรากฏแตกตา่ งตามชนิดของเชื้อไวรัสและชนิดของกล้วยไม้ โดย 31 มีลกั ษณะทส่ี ังเกตได้ เชน่ ใบดา่ งสีเขียวออ่ นสลบั สีเขียวเข้ม ยอดบิด ยอดจะมว้ นงอ ช่วงข้อจะถี่ ส้ัน การเจริญเติบโตลดลงแคระแกรน ช่อดอกส้ัน แขง็ กระด้าง ขนาดดอกเล็ก ถ้าเป็นมากกลีบ ดอกจะมสี ีซีดบริเวณส่วนดอกด่าง และ ดอกมีขนาดเล็ก (สงัด, 2545) การป้องกันกำจดั เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ตา่ ง ๆ เช่น มีด กรรไกร ดังนั้น ต้องทำความสะอาดเครื่องมือให้สะดวก หมั่นตรวจ กล้วยไม้ถ้าพบอาการ ผดิ ปกติให้แยกออกแล้วนำไปเผาทำลายเพือ่ กำจัดเช้อื และในปจั จบุ ันการขยายพนั ธ์โุ ดยวิธีการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำให้ได้กล้วยไม้ที่ สมบูรณ์ แข็งแรง และปลอดไวรสั จึงช่วยลดปัญหานี้ได้ (สงัด, 2545) 1.9. โรคราดำ (Sooty mold) เกิดจากเชื้อรา Cladosporium sp. พบราดำข้นปก คลมุ ผิวใบ ลำต้น กาบใบและก้านช่อดอก โดยเชื้อราเจริญอยู่บนหยดน้ำเล็กๆ ทีถ่ กู ขบั ออกมา จากต้นกล้วยไม้ในฤดหู นาว ราดำทำให้ลดอัตราการสังเคราะห์แสงลง (ครรชติ , 2547) การป้องกันกำจัด กำจดั แมลงทีข่ ับถา่ ยน้ำหวานออกมาเลี้ยงราดำ ได้แก่ แมลงพวก เพลี้ย โดยฉีดสารป้องกนั กำจดั แมลง ซึ่งมีชื่อสามัญ มาลาไธออน และคาร์บาริล และฉีดพน่ ด้วยสารป้องกันกำจดั เชอื้ รา ซึง่ มีช่ ือ่ สามญั เบนโนมิล และแมนโคเซบ (ครรชิต, 2547) 2. ศัตรูของกล้วยไม้ ศัตรูของกล้วยไม้เกิดจาดแมลง โดยถ้าเป็นแมลงทีด่ ูดกินน้ำ เลี้ยง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยออ่ น เพลี้ยแป้ง ก็จะพบอาการเหี่ยวยอดหงิก ใบลีบเล็กคล้ายอาการ จากโรค แต่ถ้าเป็นแมลงที่ใช้ปากกัดกินจะพบร่องรอยการกัดซึ่งทำให้การวินิจฉัยไม่ยากนกั (ครรชติ , 2547) ศตั รขู องกล้วยไม้ที่สำคัญทีพ่ บในประเทศไทย ได้แก่ 2.1. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กมีลำตัวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร รปู รา่ งเรียวยาว มักอยบู่ ริเวณปากของดอกกล้วยไม้ ระบาดมากในฤดูแล้งหรือชว่ ง ทีฝ่ นทิ้งช่วง เพลี้ยไฟทำลายได้ท้ังในดอกตมู และดอกบาน โดยถ้าทำลายดอกตูมตั้งแต่เริ่มแทงชอ่ ดอกจะทำ ให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ถ้าเข้าทำลาย ในช่วงดอกบานระยะแรกจะเกิดลักษณะสีซีดขาวเป็นทางที่บริเวณกลีบดอก ถ้า มีการระบาด คอ่ น ข้างรนุ แรงบริเวณปากจะเป็นแผลสีน้ำตาล และมีอาการเหี่ยวแห้งจึงเรียกกันวา่ ดอกไหม้ หรือปากไหม้(ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาร์โบซัลแฟน และโมโน โครโตฟอส โดยฉีดพ่นในช่วงเช้า ระหว่าง 8.00-10.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาทพ่ี บเพลี้ยไฟมาก ถ้า มี การระบาดมากควรฉีดพ่นสารเคมี 4-5 วันต่อครั้ง และฉีดติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือจนกวา่ การระบาดจะลดลง (ชมรมกล้วยไม้บางเลน, 2548) 2.2. แมลงวันดอกกล้วยไม้หรือไอ้ฮวบ เป็นหนอนสีเหลืองลำตัวยาว ประมาณ 0.8-3.0 มิลลิเมตร อาศยั อยทู่ ี่บริเวณเส้าเกสรโดยเฉพาะทบ่ี ริเวณใกลก้ ับยอด เกสร 32 ตัวเมีย มักระบาดในช่วงฤดูฝน หนอนจะเข้าทำลายดอกกล้วยไม้เฉพาะดอกตมู ขนาดเล็ก ซึ่ง กลีบดอกยังปิดหรือเริ่มแทงชอ่ ดอก ทำให้ดอกตมู ชะงกั การเจริญเติบโตหงิกงอ บิดเบี้ยว และ ตอ่ มาจะมอี าการเน่าเหลืองฉำ่ น้ำและหลุดร่วงจากช่อดอก ถ้าเข้าทำลายดอกตูมขนาดใหญ่ ทำ ให้ดอกตูมมี อาการบิดเบี้ยว บริเวณโคนดอกจะมีรอยเน่าช้ำสีน้ำตาลดำ บริเวณแผลทีช่ ้ำมกั จะ มีราฟสู ีขาวทำให้อาจเขา้ ใจผิดวา่ มีเชื้อราเปน็ สาเหตุ (สำอางค,์ 2546) การป้องกันกำจดั ควรเก็บดอกตูมที่มีอาการเนา่ ฉำ่ น้ำหรือที่มีอาการบิด เบี้ยว มาทำลายให้หมด และใช้สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น สารโมโนโครโตฟอส สารคารโ์ บซลั แฟน และเมทโธมิล ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วนั ติดต่อกนั จนกวา่ การระบาดจะลดลง ฉีดพ่นทีบ่ ริเวณ ช่อ และเครื่องปลกู ด้วยเพื่อจะได้ทำลายทงั้ หนอนและดักแด้ (สำอางค,์ 2546) 2.3. ไรกล้วยไม้ ทำลายกล้วยไม้โดยดูดกินน้ำเลี้ยง จากส่วนต่าง ๆ ของ กล้วยไม้ เชน่ ใบข้อหรือลำต้นและดอกระบาดมากในสถานทีม่ ีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ที่ใบมัก พบทีห่ ลงั ใบ ใบจะมจี ุดด่างขาวเล็ก ๆ และมคี ราบสีขาวของไรจับ หากระบาดรนุ แรงบริเวณผิว ใบจุดยุบลงหากเข้าทำลายที่ข้อหรือลำต้น จะเห็นไรเกาะกลุ่มแน่นเป็นกระจุก ลำต้นเป็นสี น้ำตาลหรือดำจึงมกั เรียกว่า โรคข้อดำ จึงทำให้ต้นชะงกั การเจริญเติบโต ถ้าทำลายช่อ ไรจุดูด กินน้ำเลี้ยงทีด่ ้านหลังของกลีบดอกโดยเฉพาะบริเวณโคน ทำให้กลีบดอกเป็นรอยช้ำบุ๋มเป็นจุด สีมว่ งเข้ม ถ้าทำลายตั้งแตร่ ะยะดอกตมู เมื่อดอกบานแผลจากการทำลายจะเห็นที่บริเวณกลีบ ล่าง และก้านดอก เรียกว่า ดอกหลังลาย (สำอางค,์ 2546) การป้องกนั กำจัด เก็บต้นกล้วยไม้ท่ไี มต่ ้องการทิ้ง เพื่อไมใ่ ห้เป็นแหล่งอาศยั ของ ไร หากระบาดไมม่ ากให้ฉีดด้วยกำมะถันทกุ 4-5 วนั แตถ่ ้าระบาดมากควรใช้ ไดโคทอล พ่นทกุ 3-4 วัน (สำอางค์, 2546) 2.4. หนอนกระทูหอม หรือที่ชาวสวนทั่วไปเรียกว่า หนอนหนังเหนียวหรือ หนอนเขียว เป็นหนอนที่เกิดจากผีเสื้อทีม่ ชี อ่ื วิทยาศาสตรว์ ่า Spodoptera exigua หนอนชนิดนี้ มีลำตัวสีเขียวหนอน พบระบาดรุนแรงเป็นประจำทั้งปี โดยจะทำลายกัดกินดอกและใบให้ เว้าแหว่งได้ ทำให้ดอกและใบเสียหายเปน็ อย่างมาก (สำอางค,์ 2546) การป้องกันกำจัด ใช้สารฆ่าแมลงประเภทไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น เฟนวา ลีเรท หรือ เดลต้าเมทริน ถ้าระบาดมากและหนอนดื้อยาใช้สารประเภทไดฟลูเบนซูรอน (สำอางค์, 2546) 2.5. หนอนกระทูผ้ ัก หรือทีเ่ รียกวา่ หนอนรัง เปน็ หนอนทีเ่ กิดจากผีเสื้อที่มีช่ือ วิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera litura เป็นแมลงที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับกล้วยไม้ สามารถ ระบาดได้ตลอดทั้งปีและระบาดได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยตัวอ่อนของหนอนจะกัดกินต้น ใบ ยอดออ่ นและดอกทำให้ผล ผลิตเสียหายไม่เปน็ ที่ต้องการของตลาด (สำอางค์, 2546) 33 การป้องกันกำจัด ถ้ายังระบาดไม่มากใช้วิธีเด็ดดอกหรือตัดใบทิ้ง และเผา ทำลาย แต่ถ้ามีการระบาดมากอาจใช้สารฆ่าแมลงพวก เมทโธมิลฉีดพ่น (สำอางค์, 2546) 2.6. เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง ซ่ึงอาศัยรวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบ จะดูดกินน้ำ เลี้ยงทำให้ด้านบนของใบมีจุดสีเหลืองเนา่ ใบจะเหลืองและเหี่ยว ถ้ามีเปน็ จำนวน มากจะทำให้ กล้วยไม้ชะงกั การเจริญเติบโต อาการต่อมาจะมรี าดำเกิดขึ้นกับใบล่างของลำต้น เพราะเพลี้ย จะถ่ายมูลออกมาเปน็ อาหารของมด และ เป็นอาหารของเชอื้ ราดำ (มาลินี, 2541) การป้องกันกำจดั การฉีดพ่นด้วยสารคาร์บาริลหรือราดที่เครื่องปลูก ถ้า ระบาดมาก ๆ ใช้สารฆ่าแมลงพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น (มาลินี, 2541) 3. อันตรายจากวัชพืชและตะไคร่ วัชพืชทีน่ ิยมเรียกกันวา่ “หญ้า” น้ันมีหลายชนิด ที่ขนึ้ อยบู่ นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ทำให้เกิดการแย่งอาหารและทำให้เครือ่ งปลูกผุเร็วกว่ากำหนด นอกจากนั้นยังพบว่าเป็นแหล่งหลบซอ่ นของศัตรูบางชนิดของกล้วยไม้อีกด้วย ส่วนตะไคร่จะ เกิดอยู่บนเครือ่ งปลกู และตามรากกล้วยไม้ ทำให้รากไม่เจริญเติบโต ในบางครั้งรากจะผุเปื่อย แห้งไป สภาพที่จะทำให้เกิดตะไคร่มาก ได้แก่ โรงเรือนทีม่ ีแสงสวา่ งน้อย อับทึบ ไม่มีลมโกรก การให้ปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ตะไครเ่ จริญได้ดีเพราะตะไคร่ได้รับปุ๋ยด้วย (สงดั , 2545) การป้องกันกำจัด ในกรณีที่แรงงานไม่เพียงพอ ต้องใช้สารเคมีกำจัดแทน สารเคมี หลายชนิดที่ใช้กำจดั วชั พืชในเครื่องปลกู โดยไม่ทำอนั ตรายต่อต้นกล้วยไม้ เชน่ ฟายแซน และได ยูรอน (สงดั , 2545) การป้องกนั กำจดั ศัตรกู ลว้ ยไมโ้ ดยไมใ่ ช้สารเคมี ในปัจจบุ นั ได้มคี วามพยายามหาวิธีป้องกันกำจัดศัตรูของกล้วยไม้โดยวิธีตา่ งๆ ที่ไม่ ใช้สารเคมีเพ่อื ป้องงกนั อนั ตรายตอ่ มนษุ ย์ สตั ว์ และพืช และการสะสมสารพิษในสภาพแวดลอ้ ม ดังเช่น Chadwick (1994) ได้ศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรขู องกล้วยไม้ด้วยวิธตี ่างๆ โดยไม่ใช้ สารเคมี และสามารถทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้เป็นปกติ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดงั นี้ (ครรชิต, 2547) 1. การดแู ลรกั ษาความสะอาด พยายามทำโรงเรือนกล้วยไม้ให้สะอาดอยเู่ สมอ ใต้ โต๊ะกล้วยไม้ไม่ควรมีสิ่งใดอยู่ยกเว้นก้อนหินที่โรยเป็นพื้น ต้นกล้วยไม้ถูกจัดวางอย่างเป็น ระเบียบ ดอกที่เหี่ยวแห้ง ใบ กาบใบ ควรเก็บออกให้หมดเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลง ราก กล้วยไม้ประเภทแวนด้า จะต้องไมใ่ ห้สัมผัสกบั พนื้ โรงเรือน 2. การควบคุมแมลงอย่างใกล้ชิด ติดแผ่นกาวสีเหลือง เหนือระดับต้นกล้วยไม้ เล็กน้อยเพื่อดูการระบาดของแมลงพวกที่บินได้ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ใน ตอนกลางคืนก็ทำการตรวจสอบเชน่ กนั แต่จะพบพวกที่ทำลายตอนกลางคืน เชน่ ตัวทากและ 34 หอยทาก นอกจากนี้มีการหมนุ เวียนย้ายที่ปลูกต้นกล้วยไม้จากโต๊ะหนึง่ ไปยังอีกโต๊ะหนึ่งซ่ึงทำ ให้สามารรถตรวจสอบต้นกล้วยไม้แต่ละกระถางได้ เนื่องจากในบางคร้ังอาจจะอยู่ไกลหรือถูก บังโดยต้นกล้วยไม้อืน่ ๆ 3. การกำจัดแมลง ใช้สารอินทรียห์ รือสารสกัดจากธรรมชาติในการกำจดั หรอื ไล่ แมลง เชน่ สารอินทรีย์ทีม่ ีชื่อทางการค้าว่า Hot Pepper Wax ของ Wilder Agriculture, Pulaski, Pennsylva, U.S.A. สารนี้อยู่ในรูปของเหลวเข้มข้นมีส่วนประกอบของพริก (Capsicum frutescens) และขี้ผึ้งพาราฟิน (Paraffin wax) เวลาใช้จะละลายในน้ำอ่นุ และฉีดพ่นไปยงั บริเวณ ใบกล้วยไม้ ขี้ผึ้งจะทำให้แมลงไมส่ ามารถหายใจได้ ส่วนพริกจะทำลายระบบประสาทของแมลง แต่สารชนิดนี้ไม่สามารถกำจัดพวกตวั ทากและหอยทากได้ 4. การรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนอย่างเหมาะสม พยายามรักษา ระดบั ความช้นื ภายในโรงเรือนไมใ่ ห้มีความชื้นที่สูงเกินไป เพือ่ ป้องกนั การเจริญเติบโตของเช้ือ ราหรือทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ไม่ดี ทำให้สามารถลดการใชส้ ารเคมีในการกำจัดเชอื้ ราได้ 35 บรรณานุกรม เกษนันท์ ศรีเกษม. 2539. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด และการพัฒนาโปรโต ค อ ร ์ ม ข อ ง ร อง เท้ า น า ร ี ฝ า หอ ย. เ ชี ย ง ใ ห ม่ : ว ิ ท ย า น ิ พ น ธ ์ ป ร ิ ญ ญ า โ ท , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 222 น. ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิง่ . 283 น. จิตราพรรณ พิลึก. 2536. การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ 82 น. ไชยา และ ลาวัลย์. 2534. กล้วยไมร้ องเทา้ นาร.ี นนทบรุ ี: ฐานเกษตรกรรม. 94 น. ชมรมกล้วยไม้บางเลน. 2548. กลว้ ยไม้. กรงุ เทพฯ: บ้านหนงั สือ. 192 น. ชลิต พงศ์ศุภสมินธิ์. 2532. เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเย่ือพืช. เชียงใหม่: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลยั แมโ่ จ.้ น. 120-124. ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย. 2535. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการงอกและการพัฒนาของโปโต คอร์ม ของรองเท้านารีเหลอื งปราจีน. เชียงใหม่: วทิ ยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ 160 น. นพมณี โทปุญญานนท.์ 2545. การขยายพันธพุ์ ืชโดยวิธีการเพาะเล้ยี งเนือ้ เยื่อ. เชยี งใหม่: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 163 น. ไพรบลู ย์ ไพรีพา่ ยฤทธิ.์ 2521. ตำรากลว้ ยไม้สำหรบั ผ้เู ริม่ เลน่ . กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์. ไพสนธิ์ ชุ่มมงคล. 2542. ศึกษาวัสดุปลูกต้นอ่อนกล้วยไม้ป่า 4 ชนิด. เชียงใหม่: ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลยั แม่โจ้. พัชรินทร์ พันธส์ ีมา. 2541. ความเข้มของแสงทีม่ ีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ รองเท้านารี. เชยี งใหม่: ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลยั แม่โจ้. มาลินี อนุพันธ์สกุล. 2541. คู่มือการปลูกกลว้ ยไม้. พมิ พค์ ร้ังที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการ หนงั สือเกษตรชุมชน มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. 104 น. ระพี สาคริก. 2530. กลว้ ยไม้. กรงุ เทพฯ: สำนกั งานส่งเสริมและฝกึ อบรม มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ 140 น. . 2535. กล้วยไม้รองเท้านาร:ี วิธีการปลกู เลี้ยงและปญั หาการ อนรุ ักษธ์ รรมชาต.ิ กรงุ เทพฯ: โอ เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส.์ 134 น. . 2549. กล้วยไม้สำหรบั ผู้เริม่ ตน้ . พิมพค์ รง้ั ที่ 3. กรงุ เทพฯ: บริษัทวศิวะ จำกดั . 222 น. 36 วิทยา สงคะกุล. 2526. การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ กรมปา่ ไม้. 184 น. สงัด แย้มไทย. 2545. ความสุขฉบับกล้วยไม้ไทย. กรุงเทพฯ: แย้มไทยออคิดส์. 450 น. สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. 2540. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. เชียงใหม่: สุ รวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร.์ 414 น. สลิล สิทธิสัจจธรรม และ นฤมล กฤษณชาญดี. 2550. คู่มือกล้วยไม้. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรงุ เทพฯ: สำนักพิมพส์ ารคดี. 248 น. สำอาง เนตรนารี. 2546. กล้วยไม้. กรงุ เทพฯ: อกั ษรสยามการพิมพ์. 160 น. อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธ์ุ. 2534. โรคพืช. กรุงเทพฯ: วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ 2534 กอง สวน สาธารณะ สำนกั สวัสดิการสังคม. หน้า 115 – 126. อบฉนั ท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไมเ้ มืองไทย. พิมพค์ ร้ังที่ 12. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. 461 น. อรดี สหวัชรินทร์. 2533. เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์ 38 น. อุไร จิรมงคลการ. 2550. กล้วยไม้รองเท้านารี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การ พิมพ.์ 224 น. Arditti, J. and R. Ernst. 1992. Fundamentals of Orchid Biology. New York: John Wiley and Sons Inc. 681 p. . 1993. Micropropagation of Orchid. New York: John Wiley and Sons Inc. 682 p. Bechtel, H., P. Cribb, E. Launert. 1981. The Manual of Cultivated Orchid Species. MIT Press. p. 433. Braem, G.J., C.O. Baker, M.L. Baker. 1998. The Genus Paphiopedilum Natural History and Cultivation, vol. 1. Botanical Publishers Ins. p. 182. Cribb, P. 1987. The Genus Paphiopedilum. Kew: Royal Botanic Gardens. Portland:Timber Press. Oregon. 314 p. Dresslet, R. L. 1993. Phylogeny and classification of the Orchid Family. Australia: Cambridge University Press. 314 p. Northen, R.J. 1970. Home Orchid Growing. Van Nostrand Reinhold Co. 109 – 114 and 185 – 193 Soon, T. E. 1989. Orchids of Asia. Singapore: Times Offset Pte Ltd. 317 p. 37 Teob, E.S. 1989. Orchid of Asia. Singapore: Times Books International. 317 p. Van Schude, N.F.H., E. Lucke, R. Ernst and J. Arditti. 1986. Paphiopedilum rothschildianum. Amer. Orchid Soc. Bull. 55(6): 579 – 584.